Wednesday, April 7, 2010

เอล็กซานเดอร์มหาราช

มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก นาม เอล็กซานเดอร์มหาราช , ภายหลังจากที่ได้เข้าครอบครอง อาณาจักรน้อยใหญ่มากมาย ก็ได้เดินทัพกลับบ้าน ระหว่างทางท่านได้ล้มป่วยลง และต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานนับเดือน เมื่อความตายกำลังใกล้เข้ามา, เอล็กซานเดอร์ก็ระลึกขึ้นได้ว่า ไม่ว่าชัยชนะที่ได้มา หรือแม้แต่กองทัพอันเกรียงไกร หรือแม้แต่ดาบ อันคมกริบ หรือความมั่งคั่งทั้งหลายที่มีอยู่ หาได้มีประโยชน์อันใดไม่

ท่านได้เรียกให้ขุนพลทั้งหลาย เข้ามาพบและกล่าวว่า ข้าพเจ้าคงจะต้องจากโลกนี้ไปในเร็วๆ นี้ แต่ก่อนที่จะตาย ข้าพเจ้าขอให้ช่วยพวกท่านช่วยเติม เต็มความปรารถนา 3 ประการ ของข้าพเจ้า และอย่าให้ขาดแม้แต่สิ่งเดียว ขุนพลทั้งหลายต่างร้องไห้น้ำตานองหน้า และทุกคนเห็นพ้องกันที่ ะยึดถือและจะทำให้สำเร็จตามคำปรารถนานั้น

- ความปรารถนาข้อแรกของข้าพเจ้า : ข้าพเจ้าขอให้เพียงลำพังแพทย์ผู้ทำการรักษา เป็นผู้แบกโลงศพของข้าพเจ้า
- ความปรารถนาข้อที่สอง : เมื่อแบกโลงศพของข้าพเจ้าไปยังสุสาน เส้นทางที่นำโลงศพไปสู่สุสาน ขอให้โปรยด้วยทองคำ เงิน และอัญมณีต่างๆ ซึ่งข้าพเจ้าได้สะสมไว้ในท้องพระคลัง
- ความปรารถนาข้อที่สาม ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย : ขอให้นำมือทั้ง 2 ข้าง ของข้าพเจ้าห้อยไว้ข้างโลงศพ
ผู้คนทั้งหลายที่ได้มารวมกันอยู่ต่างล้วนสงสัยในความปรารถนาของพระราชาของพวกเขา แต่ก็ไม่มีใครกล้าเอ่ยถาม / หนึ่งในขุนพลอันเป็นที่รักยิ่งของกษัตริย์เอล็กซานเดอร์ ได้นำมือของเอล็กซานเดอร์ขึ้นมาจุมพิต และแนบมือนั้นไว้ที่หน้าอก(หัวใจ) ของเขา พร้อมเอ่ยว่า องค์พระราชา... พวกเราพร้อมจะดำเนินการเติมเต็มตาม
ความปรารถนาของพระองค์ เพียงแต่ขอพระองค์โปรดบอกเหตุผลว่า ทำไมพระองค์จึงขอให้ดำเนินการตามความปรารถนาเช่นนั้น
ถึงตอนนี้เอล็กซานเดอร์ ได้ถอนหายใจอยากลึกๆ และกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าอยากให้ทั้งโลกได้รู้ไว้เกี่ยวกับ บทเรียน 3 เรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้เรียนผ่านมาแล้ว”
- ที่ข้าพเจ้าต้องการให้แพทย์ผู้ทำการรักษาข้าพเจ้า เป็นผู้แบกโลงศพของข้าพเจ้า ก็เพื่อว่า ผู้คนทั้งหลาย จะได้ตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีหมอคนได้ที่จะสามารถจะรักษา คนป่วยได้อย่างจริงๆ พวกหมอเหล่านั้นเขาไม่มีพลังอำนาจใดๆ ยื้อชีวิตจากความตายได้ ฉะนั้นขอให้อย่ายื้อชีวิตของใครให้คงอยู่ตลอดไปเลย
- ที่ข้าพเจ้า อยากให้โปรย ทอง เงิน ฯลฯ บนเส้นทางไปสู่สุสาน ก็เพื่อจะบอกผู้คนทั้งหลายว่า ... แม้แต่เศษเสี้ยวเดียว ของแก้วแหวน เงินทอง ซึ่งข้าพเจ้าหามาได้ข้าพเจ้าก็เอาไปไม่ได้
- และความปรารถนา ข้อสุดท้าย ... ที่ขอให้นำมือทั้ง 2 ข้างของข้าพเจ้า ห้อยไว้ ข้างนอกโลง .. ก็เพื่อว่า ผู้คนจะรู้เอาไว้ว่า ข้าพเจ้ามามือเปล่าในโลกนี้ และข้าพเจ้าก็จากโลกนี้ไปอย่างมือเปล่า

สุดท้ายในคำกล่าวของเอล็กซาน เดอร์ “ ขอให้ฝังข้าพเจ้า, ไม่ต้องสร้างอนุสรณ์สถานใดๆ, ปล่อยให้มือทั้ง 2 ห้อยอยู่ข้างนอกโลง เพื่อที่โลกจะได้รู้ว่า “บุคคลผู้ซึ่งเอาชนะมาแล้วทั้งโลก .... ในที่สุดก็ไม่เหลืออะไรติดมือไปเลย แม้แต่นิดเดียว”

จาก forworded mail

Tuesday, April 6, 2010

ฉลาดทำใจในยามการเมือง ขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่าย

ฉลาดทำใจในยามการเมืองขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่าย

พระไพศาล วิสาโล
เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะในระดับประเทศ ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเราด้วยมักถูกดึงเข้าไปเป็นฝักฝ่าย ทำให้ความขัดแย้งขยายตัว และลุกลามไปถึงที่ทำงานและในบ้าน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ใด ๆ มาเกี่ยวข้อง หากเป็นเพราะความคิดเห็นต่างกัน หรือสนับสนุนคนละฝ่ายกันเท่านั้น

ในสภาพเช่นนี้พึงระลึกไว้ว่า คนเรานั้นเห็นต่างกันได้ อาจเป็นเพราะได้ข้อมูลต่างกัน หรือ มีเกณฑ์วัดความดีและความสำเร็จต่างกันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ข้อสำคัญก็คือคนที่เห็นต่างจากเราไม่ใช่คนเลว คนดีก็มีสิทธิเห็นต่างจากเราได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเห็นเขาเป็นศัตรู

ควรมองคนให้กว้างขึ้น แล้วเราจะพบว่า แม้เขาจะคิดต่างจากเราในเรื่องนี้ แต่ก็มีหลายเรื่องที่คิดเหมือนกับเรา จึงไม่ควรมองเห็นเขาเป็นศัตรูเพียงเพราะว่าคิดต่างจากเราในเรื่องนี้หรือ เรื่องนั้น จะว่าไปแล้วคนเราทุกคนมีความเหมือนมากกว่าความต่าง ถ้าเราไปติดอยู่กับความต่าง เราจะมองกันเป็นศัตรูได้ง่าย แล้วความโกรธเกลียดจะเผาลนจิตใจเรา แต่ถ้าเรามองไปที่ความเหมือนให้มากๆ จะพบว่าเราเป็นเพื่อนกัน รักชาติบ้านเมืองเหมือนกัน

นอกจากมองกว้างแล้ว ควรมองให้ไกลด้วย วันนี้เรากับเขาอาจอยู่คนละมุม แต่พรุ่งนี้เรากับเขาอาจร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ ดังคนไทยทั้งประเทศได้แสดงให้เห็นเมื่อครั้งร่วมใจกู้ภัยสึนามิมาแล้ว เพราะ ฉะนั้นแม้จะขัดแย้งกัน แต่อย่าทะเลาะกันจนมองหน้าไม่ติด เพราะวันพรุ่งนี้เราอาจจำเป็นต้องมาจับมือกันก็ได้

ที่สำคัญก็คือคนที่เห็นต่างจากเราบางคนก็เป็นคู่รัก เป็นญาติพี่น้อง หรือมิตรสหาย เราจะต้องมีชีวิตร่วมกันไปอีกนาน ดังนั้นจะทะเลาะวิวาทกันไปทำไม พึงตระหนักว่าประเด็นการเมืองที่ขัดแย้งกันนั้น ส่วนใหญ่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานก็สร่างซาไป ไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่อีกต่อไป แต่หากเราทะเลาะกันจนมองหน้าไม่ติดแล้ว ความบาดหมางจะกินใจทุกฝ่ายไปอีกนาน จึงควรพิจารณาว่าคุ้มหรือไม่ที่จะต้องวิวาทกันในเรื่องการเมืองที่หาความแน่ นอนไม่ได้

ประการสุดท้ายคือ . แผ่เมตตาให้คู่กรณีที่อยู่คนละฝ่ายกับเราบ้าง พึงตระหนักว่า ความโกรธเกลียดไม่เป็นผลดีแก่จิตใจของเรา ทุกครั้งที่เรารู้สึกโกรธเกลียด มีจิตปรารถนาร้ายต่อใคร คนแรกที่ถูกทำร้ายคือเรา ความโกรธเกลียดนั้นทำร้ายเราก่อนที่จะไปทำร้ายคนอื่นเสียอีก เพียงแค่คิดถึงเขาก่อนนอน ก็อาจทำให้เรานอนไม่หลับ เกิดความเครียด ความดันโลหิตขึ้น อย่าปล่อยให้ความโกรธเกลียดบั่นทอนจิตใจของเรา ขับไล่ความโกรธเกลียดไปด้วยการแผ่เมตตา

ทุกคืนก่อนนอน ลองแผ่เมตตาให้เขาด้วยความปรารถนาดี ขอให้เขาหลุดพ้นจากวังวนแห่งความทุกข์ ขอให้ความโลภ โกรธ หลงอย่าได้เกาะกุมจิตใจเขาเลย ขอให้เขามีสัมมาทิฏฐิและมีโอกาสเข้าถึงความสงบสุขที่ลึกซึ้งในชีวิต เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์พบเห็นภาพของคู่ตรงข้ามที่เราไม่ชอบใจ แผ่เมตตาทำนองนี้ให้เขาด้วยก็ดี อย่างน้อยใจเราจะได้ไม่เร่าร้อนหรือถูกเผาลนด้วยความโกรธเกลียด

ไม่มีทางลัดสู่ความสงบ ยอมเสียเวลาดีกว่าเสียเลือดเนื้อ
วันที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2553 มติชนออนไลน์

Sunday, April 4, 2010

ทอดผ้าป่าสร้างพระวิหารวัดสันคะยอม

ตามที่พระวิหารวัดสันคะยอม ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้ถูกเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 คณะศรัทธา พุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งกองผ้าป่าเพื่อสมทบทุนสร้างพระวิหารใหม่เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ โดยได้นำไปทอดถวายเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2553 โดยได้เงินทำบุญจากผู้มีจิตอันเป็นกุศลทั้งสิ้น 53,887 บาท จึงเรียนมาเพื่อโปรดอนุโมทนาในบุญกุศลครั้งนี้โดยทั่วกัน


จารึกการสร้างพระวิหารหลังเก่าเมื่อ พ.ศ. 2503


พระพุทธรูปที่เหลือจากเพลิงไหม้พระวิหาร



พระพุทธรูปที่เหลือจากเพลิงไหม้พระวิหาร


พระพุทธรูปไม้สักที่ถูกเพลิงไหม้


พระพุทธรูปไม้สักที่ถูกเพลิงไหม้


พระพุทธรูปที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้



รูปภาพและผ้ายันต์ที่เหลือจากเพลิงไหม้


บริเวณที่ตั้งพระวิหารเดิมได้รับการปรับแต่งพื้นที่แล้ว


พระประธานในพระวิหารเดิมได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้


พระประธานในพระวิหารหลังเดิม ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ


พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ


องค์ผ้าป่าก่อนถวาย


พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี

Thursday, April 1, 2010

สมเด็จ พระเทพฯ องค์"วิศิษฏศิลปิน"

สมเด็จ พระเทพฯ องค์"วิศิษฏศิลปิน"


ในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนและเยาวชนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ของชาติไทย โดยการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนมีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้า ของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และร่วมรับผิดชอบดูแลทำนุบำรุงรักษาไว้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น ลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถาน โบราณวัตถุให้น้อยลง

นอก จากจะเป็นวันที่ต้องการให้ประชาชนชาวไทยรำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติแล้ว รัฐบาลยังกำหนดให้วันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นวันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวัน พระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เวียนมาบรรจบครบรอบ 30 ปี ในวันที่ 2 เม.ย. 2528 ที่พระ องค์ทรงเป็นองค์เอกอัครราชูปถัมภก มรดกวัฒนธรรมไทย และสนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติตลอดมา พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณีย กิจ และราชจริยวัตรในด้านอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทั้งด้านพุทธศาสนา ภาษาไทยและวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน ทั้งงานพระราชนิพนธ์ต่างๆ ทั้งประเพณีวัฒน ธรรม ภาษา และศาสนา ด้านการประพันธ์พระองค์ทรงสนพระทัยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เนื่องด้วยทรงเป็นคนชอบอ่านหนังสือ จนได้รับฉายาว่า "หนอนหนังสือ" ทำให้ทรงมีความรู้มากมาย พระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมถึงพระราชนิพนธ์แปลต่างๆ อาทิ วรรณวลี ซึ่งพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรอง กษัตริยานุสรณ์ พระราชนิพนธ์เป็นโคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พุทธศาสนาสุภาษิตคำโคลง พระราชนิพนธ์เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 38 พรรษา เดินตามรอยพ่อ ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งพระทัยในพระราชกรณียกิจ ด้านต่างๆ เพื่อประชาชนชาวไทยทั้งของพระองค์เองและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่ได้รับความนิยมมาก




เมื่อทรงมีโอกาสเสด็จประพาสต่างประเทศ จะทรงนำประสบการณ์ที่ทรงประสบมานิพนธ์เป็นหนังสือซึ่งมีคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีของประเทศนั้นเป็นอย่างดี

ด้านดนตรีไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเป็นอย่างมาก ทรงหัดเริ่มเล่นซอด้วงก่อนเป็นอันดับแรก และทรงเล่นมาตลอดจนมีความสามารถในการเล่นยอดเยี่ยม

พระราชนิพนธ์ตอน หนึ่งในเรื่อง "เหตุใดข้าพเจ้าจึงชอบเล่นดนตรีไทย" ความว่า "ดนตรีไทยนี้เล่นแล้วติดจริงๆ สบโอกาสเมื่อไรก็ต้องไปฟัง แต่ก่อนอธิบายได้ว่าชอบเพราะชาตินิยม หลังๆ นี้ชอบเพราะฟังแล้วสนุกตื่นเต้น มีทุกรส..." นอกจากจะโปรดการเล่นดนตรีไทยแล้ว ยังทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง เพลงแรกที่นิพนธ์ คือ เพลงส้มตำ ซึ่งเป็นที่นิยมและชื่นชอบของประชาชนทั่วไป เนื่องจากเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่เข้าใจง่าย ใช้ภาษาสละสลวย พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์อีกหลายเพลง เช่น เต่ากินผักบุ้ง เต่าเห่

ด้วย พระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในปีพ.ศ. 2546 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติทูล เกล้าฯ ถวายพระสมัญญา "วิศิษฏศิลปิน" แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นศิลปินผู้มีอัจฉริยภาพหลายสาขาเป็นที่ยอมรับ ประจักษ์ชัดในวงการศิลปะ

ในวันที่ 2 เมษายน 2553 วันอนุรักษ์มรดกไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงเชิญชวนประชาชนชาวไทย ตระหนักถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมของชาติ ร่วมกันหวงแหน อนุรักษ์ และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยของเราให้ดำรงอยู่ สมกับที่พระองค์ท่านบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันก่อเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่ออนุชนรุ่นหลังจักได้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทยของเราสืบไป

หน้า 25
วันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7064 ข่าวสดรายวัน