ในพระบาลีมีหลักธรรมของผู้เป็นครูที่ดี ๗ ประการ คือ
๑. ปิโย คือคุณครูต้องทำตนให้เป็นที่รัก ทั้งของผู้อื่นและตนเอง (ต้องทำดีจนกระทั่งกราบไหว้ ตนเองได้)
๒. ครุ คือคุณครูต้องเป็นผู้หนักแน่น...ด้วยความประพฤติดีมีคุณธรรม...ด้วยหลักวิชาการ และความรู้รอบตัว
๓. ภาวนีโย คือคุณครูต้องเป็นผู้สามารถยังความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง และศิษยานุศิษย์
๔. วัตตา คือคุณครูต้องประพฤติทั้ง ๒ ด้าน คือ ผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ และ มีข้อวัตรปฏิบัติของความเป็นครู
- การสอนผู้อื่นนั้นมี ๒ วิธี คือ พูดให้ฟัง และ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
- คุณครูต้องมีข้อวัตรปฏิบัติที่สมบูรณ์ ไม่เป็นคนโลเลเหลวใหล ต้องปรับปรุงตนเองให้ดีอยู่เสมอตลอดไป
๕. วจนักขโม คือคุณครูต้องเป็นผู้อดทนในเรื่องวาจา ๒ ประการคือ
- อดทนในการพูดจาพร่ำสอนศิษย์ แม้จะยากลำบากและเหน็ดเหนื่อย
- อดทนต่อถ้อยคำว่ากล่าวของศิษย์หรือผู้อื่น ไม่หวั่นไหวโดยง่าย
๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา คือคุณครูต้องมีความสามารถทำเรื่องที่ลึกให้ตื้นได้ ทำเรื่องที่เข้าใจยากให้ง่ายขึ้น มีความฉลาดหลักแหลมในการสอนสั่งศิษย์
๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย คือคุณครูต้องไม่แนะนำศิษย์ในทางที่ไม่เหมาะสม ไม่แนะนำศิษย์ในทางที่จะเกิดความเสื่อมเสีย แต่ต้องแนะนำศิษย์ในทางที่ดี ที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดไป
ขอกราบคารวะบูรพาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ในโอกาสวันครู ๒๕๕๒
Friday, January 16, 2009
Tuesday, January 6, 2009
บุญ ที่ถูกต้อง คืออย่าหลงบุญ
ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของ “บุญ” ...คิดว่าการทำบุญก็คือ การตักบาตร, การถวายทรัพย์, ปัจจัย, การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้ เป็นต้น ยิ่งบางพุทธพาณิชย์ เน้นสอนให้บริจาคทรัพย์ หรือร่วมสร้างความยิ่งใหญ่อลังการเข้าวัดจนเกินตัว มียอดบริจาคมากเท่าไหร่ถือว่ายิ่งได้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ รวยล้นฟ้าไม่รู้เรื่อง...
แท้จริงแล้ว “บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า "ชำระ" หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ
ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “บุญ” ได้ ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา
๑. ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น
๒. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล (มี ๘ ข้อ)
๓. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทางวิปัสสนา
การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป–นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา
“บุญ” ยังมีอีก ๗ อย่าง ตามอรรถกถา หรือข้อปลีกย่อยนอกเหนือจากพระไตรปิฎก นับถัดไปเป็นลำดับที่ ๔ ดังนี้
๔. อปจายนะ ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม
๕. เวยยาวัจจะ ความขวนขวายในกิจ หรืองานที่ควรกระทำ
๖. ปัตติทาน การให้บุญที่ตนถึงแล้วแก่คนอื่น เช่น การอุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำ
๗. ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้ว
๘. ธัมมัสสวนะ หรือการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
๙. ธัมมเทศนา หรือการแสดงธรรมเมื่อได้ศึกษาธรรมะ แล้วถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือการกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง
บุญทั้ง ๑๐ ประการนี้ บางที่เรียกกันว่า "บุญกิริยาวัตถุ ๑๐"
จะเห็นว่าบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์
แท้จริงแล้ว “บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า "ชำระ" หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ
ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “บุญ” ได้ ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา
๑. ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น
๒. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล (มี ๘ ข้อ)
๓. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทางวิปัสสนา
การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป–นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา
“บุญ” ยังมีอีก ๗ อย่าง ตามอรรถกถา หรือข้อปลีกย่อยนอกเหนือจากพระไตรปิฎก นับถัดไปเป็นลำดับที่ ๔ ดังนี้
๔. อปจายนะ ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม
๕. เวยยาวัจจะ ความขวนขวายในกิจ หรืองานที่ควรกระทำ
๖. ปัตติทาน การให้บุญที่ตนถึงแล้วแก่คนอื่น เช่น การอุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำ
๗. ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้ว
๘. ธัมมัสสวนะ หรือการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
๙. ธัมมเทศนา หรือการแสดงธรรมเมื่อได้ศึกษาธรรมะ แล้วถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือการกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง
บุญทั้ง ๑๐ ประการนี้ บางที่เรียกกันว่า "บุญกิริยาวัตถุ ๑๐"
จะเห็นว่าบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์
Subscribe to:
Posts (Atom)