Tuesday, December 4, 2007

เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา







ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้า ถวายพระพรให้จงทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ ทรงพระเกษมสำราญในไอสูรย์ทิพยสมบัติ สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไปชั่วกาลนานเทอญ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม เดชะ


Saturday, November 17, 2007

5 คำถาม 3 กิเลส ที่บั่นทอนประเทศชาติ

คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล
-1-เหตุการณ์นักเรียนหญิงตบตีกันในห้องเรียนที่จังหวัดลำพูนเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ดี กรณีนักศึกษาสาวสาดน้ำร้อนใส่หน้าหญิงสาวอีกคนหนึ่งในร้านสะดวกซื้อกลางกรุงในเวลาไล่เลี่ยกันก็ดี แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่ก็เริ่มต้นด้วยประโยคเดียวกัน นั่นคือ"มึงมองหน้ากูทำไม?"


อ่านต่อ
http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_17rxm94x&revision=_latest

Thursday, November 1, 2007

จิต-วิญญาณ


จิต-วิญญาณ


โดย พระครูพัฒนากิจจานุกรักษ์ (หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม)


ความทุกข์เกิดจากการที่วิญญาณของคนเราอยากเกิดอยากตาย อยากเกิดเป็นเศรษฐี อยากเกิดเป็นเทวดา ทำบุญแล้วขอให้เกิดเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นการขอที่ขาดทุน ถ้าจะให้ได้กำไรล้วนก็ต้องปรารถนาไปนิพพานอย่างเดียว


ในตัวคนเรานี้มี ๓๓ จิต จิตที่ใหญ่ที่สุด พญาจิต เรียกว่าวิญญาณ อวัยวะทั้ง ๓๒ อย่างในร่างกาย มีจิตบริวารคุมอยู่ ๓๒ จิต ทางเหนือเรียกว่าขวัญ พญาจิตมีเสนาใหญ่อยู่ ๔ นาย คุมตา คุมหู คุมตับปอด คุมมือเท้า ถ้าจิตที่คุมส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้งไป เช่น จิตที่คุมตาออกไปตาจะบอด มองอะไรไม่เห็น จิตที่คุมขาออกไปขาจะเดินไม่ได้ จิตที่คุมหูออกไปหูจะไม่ได้ยินเสียง จิตที่คุมผมออกไปผมจะร่วง


ถ้าเสนาใหญ่ ออกไป ๑ นาย จะรู้สึกป่วย
ถ้าเสนาใหญ่ ออกไป ๒ นาย จะรู้สึกป่วยมากขึ้น
ถ้าเสนาใหญ่ ออกไป ๓ นาย จะไม่กินอาหาร
ถ้าเสนาใหญ่ ออกไป ๔ นาย จะตายทันที


เฉพาะคนและสัตว์เท่านั้นที่มี ๓๓ จิต ถ้าเป็นเทวดา หรือเปรตอสุรกายที่ไม่มีกายเนื้อ จะมีเพียงจิตเดียวคือพญาจิต พญาจิตที่ใฝ่ใจในบุญกุศลก็จะไปเป็นเทวดา พรหม พระอรหันต์ พญาจิตที่มีแต่กิเลสตัณหาก็จะไปเป็นเปรตอสุรกาย


วิญญาณที่ไปจุติในที่ต่างๆ คือ พญาจิต ถ้าเป็นวิญญาณที่ดีก็จะไปจุติในเทวโลก พรหมโลก นิพพาน ถ้าเป็นวิญญาณที่เลวร้ายก็จะไปสู่อบายภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย คือ ดินแดนที่ไม่มีกาย


การเกิด วิญญาณที่จะมาจุติเป็นมนุษย์ สัตว์ ต้องหาพรรคพวกบริวารมาอีก ๓๒ จิต จิตบริวารนี้อาจจะดีบ้าง เลวบ้าง บางคนอาจจะรู้สึกว่ามี ๒ พวกอยู่ในตัวเรา พวกหนึ่งหรือใจหนึ่งอยากจะทำแต่สิ่งที่ดี ใจหนึ่งอยากจะทำแต่สิ่งที่ชั่ว บางครั้งจะต่อสู้ขัดแย้งกันภายใน พญาจิตต้องตัดสินใจว่าจะเชื่อฝ่ายใด


ถ้าพญาจิตทำเหตุที่ดีไว้ จิตบริวารที่ชักชวนกันมารวมตัวกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นจิตดี เป็นจิตนักปราชญ์ จิตผู้มีบุญ เป็นจิตมนุษย์ ถ้าพญาจิตทำแต่กรรมชั่วมา จิตที่มารวมตัวกันเป็นจิตบริวารก็จะเป็นจิตไม่ดี เป็น จิตอมนุษย์ จิตสัตว์เดรัจฉาน จิตเกเร


เมื่อพญาจิตรวบรวมบริวารได้ครบ ๓๒ แล้ว ก็จะมาเกาะอยู่ที่สีข้างขวาของพ่อ ๗ วัน แล้วออกมาทางข้างพ่อทางซ้าย แล้วมาเข้ากระหม่อมของแม่ ๗ วัน แล้วมาตั้งเป็นต่อมเลือด ๗ วัน มาตั้งลำตัวแขนขา (สาขาทั้ง ๕ แห่ง) อีก ๗ วัน แล้วมาตั้งรวบรวมลมเคลื่อนไหวไปมา ๙ เดือนจึงคลอด ถ้าตายในท้องเรียกว่าเอาชาติพันชาติ หรือคลอดแล้วตายก็นับเป็นชาติหนึ่ง เช่น จะมาเกิดใช้หนี้แม่ ๓ คน ๓ ชาติ เผอิญแม่ ๓ คนเกิดมาชาติเดียวกัน ก็ต้องไปเข้าท้องคนนั้นนิด คนนี้หน่อย แล้วก็ย้ายไปอยู่กับคนอื่น


ถ้าอายุ ๗-๘ ปี แต่งงาน อวัยวะในตัวแม่ยังสร้างตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีลูกลูกก็จะอายุสั้น ถ้าอายุ ๑๙, ๒๐, ๒๒ ปี เลือดลมก่อตัวครบถ้วนแล้วลูกก็จะแข็งแรง การตาย ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ถ้าเสนาใหญ่ทั้ง ๔ นายถอนตัวออกจากร่างกาย พญาจิตก็ต้องออกจากร่างไป การออกนั้นจะออกทางใดทางหนึ่งตามกรรมที่ทำมา ถ้าพญาจิตออกทางกระหม่อม (ศีรษะ) ก็ไปนิพพาน ถ้าออกทางปากจะไปเกิดเป็นคน ถ้าออกทางจมูกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ออกทางตาไปเป็นเปรต ถ้าออกทางขาจะเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ เมื่อคนใกล้จะตายจะสังเกตเห็นได้ ถ้าออกทางกระหม่อมจะกระตุก ถ้าออกทางจมูกจะจาม เป็นต้น การออกจะต้องออกด้วยความแรงเหมือนลูกปืน


จิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพญาจิตจะไม่มาเกิด แต่จิตบริวารของพระพุทธองค์จะมาเกิดอีก จิตบริวารเหล่านี้ถ้าเชื่อพญาจิตที่ดีไม่เชื่ออย่างอื่น มันก็จะเห็นทุกข์และไม่กระทำบาป จิตนั้นจะไปเกิดกับคนดี ร่วมเกิดกับพญาจิตที่ดีไม่ไปอยู่กับคนร้าย จิตตัวนั้นก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป้นพญาจิตเสียเอง ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ได้ในที่สุด เหมือนอย่างพวกลูกๆ มาขอร่วมเกิดกับหลวงพ่อ ไปไหนก็จะไปด้วย ทำบุญก็จะทำด้วย พวกลูกๆ จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จนได้เป็นพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือเป็นพระพุทธเจ้าได้ตามปรารถนา

ที่มา: หนังสือ พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปทรงยกบัวยอดฉัตรทองคำ และทรงเปิดป้ายพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ณ พระมหาธาตุเจดีย์สรีเวียงชัย พุทธสถานของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน วันเสาร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ หน้า ๓๑๔-๓๑๖

Friday, September 28, 2007

วัดเทพธิดาราม

เรื่องบางเรื่อง ก็ยากจะหาคำอธิบาย วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ พี่เล็กกับฉันได้เดินทางไปทำธุระที่วัดราชนัดดา แต่มาจอดรถไว้ที่วัดเทพธิดาราม เมื่อทำธุระที่วัดราชนัดดาเสร็จเรียบร้อย กลับไม่ได้หาโอกาสเดินเที่ยวชมสถาปัตยกรรม หรือไหว้พระที่วัดราชนัดดา (ที่มีโลหะปราสาท) แต่เมื่อเดินกลับมายังวัดเทพธิดาราม เห็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่สวยงามมาก จึงได้แวะเข้าไปไหว้พระในพระอุโบสถ


วัดเทพธิดารามนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ สำหรับพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม ก็เหมือนกับพระอุโบสถวัดอื่นๆ ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หน้าบันจะประดับด้วยชามกระเบื้องเป็นลวดลายดอกไม้ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ถือเป็นเอกลักษณ์ของการสร้างวัดในรัชสมัยนั้น ในพระอุโบสถมีพระพุทธปฏิมาประธาน สร้างด้วยหินสีขาวบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธเทววิลาส" ประดิษฐานอยู่บนบุษบก มีพระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ ปางห้ามสมุทรประดิษฐานอยู่สองข้างของบุษบก บุษบกนั้นประดับด้วยกระจก ลวดลายละเอียดประณีตบรรจงมาก คงเป็นฝีมือของช่างในราชสำนัก และสะท้อนถึงความศรัทธา และความร่มเย็นของบ้านเมืองในยุคนั้น ที่ทำให้ช่างมีเวลามาออกแบบบุษบก และรังสรรค์งานอันประณีตนี้ได้

ด้านขวาของบุษบก มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ส่วนด้านซ้าย เป็นพระรูปวาด พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ



ออกจากพระอุโบสถแล้วเดินชมสถาปัตยกรรมรอบๆ วัด พบว่าบริเวณวัดดูเสื่อมโทรม มีวัสดุกองอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ ไม่พบพระเณร ทำให้รู้สึกสลดใจที่สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าอย่างนี้ถูกละเลยจากความสนใจของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชน พี่เล็กบอกว่าวัดนี้ไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน ๙ วัด ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ การท่องเที่ยวฯ ได้เชิญชวนประชาชนให้มาเที่ยวชม



Wednesday, August 8, 2007

พระอมิตาภพุทธเจ้า



พระอมิตาภพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายาน

ในฝ่ายมหายานแสดงว่ามีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสถิตย์อยู่เป็นนิรันดรในสรวงสวรรค์ คือ พระสยัมภูพุทธเจ้า หรือพระอาทิพุทธเจ้า และมีพระพุทธเจ้าอีก 1 พระองค์ เกิดด้วยอำนาจฌานสมาบัติทั้ง 5 ของพระอาทิพุทธเจ้า สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์เช่นเดียวกัน เรียกว่า พระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์
1.พระไวโรจน ทำหัตถ์อย่างปางปฐมเทศนา
2.พระอักโษภยะ ทำหัตถ์อย่างปางมารวิชัย
3.พระรัตนสัมภวะ ทำหัตถ์อย่างปางประทานพร
4.พระอมิตภะ ทำหัตถ์อย่างปางสมาธิ
5.พระอโมฆสิทธะ ทำหัตถ์อย่างปางประทานอภัยต่อมามีเพิ่มขึ้นมาใหม่อีกปางหนึ่ง เรียกว่า พระไภษัชคุรุ ทำพระหัตถ์อย่างปางสมาธิถือวชิระ ดูเป็นหม้อน้ำมนต์หรือผลสมอไปบ้าง เป็นต้นแบบพระกริ่งทั้งปวง สมเด็จพระญาณสังวร, (2539: 148-149)


อ่านต่อ...

จริยาวัตรของพระอานนท์




จริยาวัตรของพระอานนท์
ธันยวัฒน์ รัตนสัค

¤¤¤¤
กำเนิดพระอานนท์
พระอานนท์เป็นพระญาติสนิท หรือเป็นลูกผู้น้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะพระอานนท์เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ส่วนพระมารดาของพระอานนท์นั้น ในคัมภีร์มหาวัสตุบอกว่ามีพระนาม มฤคี
ตามตำนานทางพุทธศาสนานั้นกล่าวว่า พระอานนท์ประสูติวันเดือน และปีเดียวกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเป็นสหชาติ ดังนั้นพระบิดาจึงได้ถวายพระอานนท์ให้เป็นพระสหายกับเจ้าชายสิทธัตถะ


อ่านต่อ
http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_15d5f33p&revision=_latest

Tuesday, July 31, 2007

วันอาสาฬหบูชา 2550




วันเกิดปีนี้ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา (29 กรกฎาคม 2550) เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ถือเป็นการเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก และถือเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ มีพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

เนื้อหาของพระธัมมจักกัปวัตนสูตร โดยย่อ ลองไปดูตามลิ้งค์ข้างล่าง

http://docs.google.com/Doc?docid=dgsdcg4f_13c2zz76&hl=en

Monday, July 16, 2007

กิจสิบประการที่ผู้ประพฤติไม่เคยเสียใจ

กิจสิบประการที่ผู้ประพฤติไม่เคยเสียใจ

หนังสือประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าว ประกอบด้วยโคลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น ๑๑ บท ได้แก่ โคลงวชิรญาณสุภาษิต โคลงสุภาษิตพิพิธธรรม โคลงสุภาษิตอิสปปกรณัม โคลงสุภาษิตสอนผู้เป็นข้าราชการ โคลงว่าด้วยความสุข โคลงสุภาษิตบางปอิน โคลงกระทู้สุภาษิต โคลงสุภาษิตโสฬศไตรยางค์ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ โคลงพระราชปรารภความสุขทุกข์ และโคลงสุภาษิตเบ็ดเตล็ด

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ทุกบท ได้สะท้อนให้เห็นถึงพระราชอัจฉริยภาพขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระคุณวิเศษอันไม่เพียงแต่ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น บทพระราชนิพนธ์ทุกบทที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แม้จะมุ่งหมายทางด้านความบันเทิง แต่ก็ได้สอดแทรกสุภาษิตสอนใจผู้อ่านไว้อย่างถ้วนหน้า

โคลงสุภาษิตบทหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจ และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประพฤติปฎิบัติตนในสังคม จึงได้นำมาเผยแพร่ในที่นี้ คือโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษ ดังนี้


อ่านต่อ...
http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_12f6dfbc&revision=_latest

สมบัติของผู้ดี

สมบัติของผู้ดี
ผู้เรียบเรียง เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราบดี
ผู้จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติม ม.ล.ป้อง มาลากุล ๒๕๐๓
ผู้ตรวจทาน นายสุชีพ ปุญญานุภาพ

ปรารภ
หนังสือเก่า ๆ เล่มนี้ หากจะให้ใครเป็นของขวัญ ถ้าผู้รับจะไม่คิดเพียงว่าเป็นเรื่องเชยล้าสมัย ก็อาจจะพาลโกรธด้วยคิดว่ากำลังถูกด่าทางอ้อมว่าเป็นคนไม่มีมรรยาทชาติตระกูล ดังเช่นที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ในนิยายหรือในละครโทรทัศน์ และส่วนใหญ่แล้วผู้ที่อ้างหนังสือนี้มักจะคิดถึงคนโน้นคนนี้ว่าสมควรต้องนำไปประพฤติเพื่อปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น มากกว่าจะคิดว่าแท้จริงแล้วเราเองแต่ละคนก็ต้องฝึกฝนขัดเกลาและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน ในการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการทำ การพูด และการรู้สึกนึกคิดต่อผู้อื่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งจึงจำต้องมีกฏกติกา มรรยาท ของการอยู่ร่วมกัน โดยพื้นฐานก็คือ สิ่งใดที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา ก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับเขา สิ่งใดที่เรายินดีชื่นชม หรือรักใคร่เอ็นดู เมื่อได้ยินได้เห็น ได้รับการปฏิบัติต่อ คนอื่นก็ปรารถนาจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันโดยเหมาะสมกับเพศ วัย สถานะตำแหน่ง ในสถานที่และโอกาสอันควร จึงนับเป็นหลักการหรือวัตถุประสงค์หลักที่เราควรคำนึงถึง มากกว่าจะติดอยู่กับข้อบกพร่องปลีกย่อยด้านการใช้ภาษาหรือขนบธรรมเนียมเก่า ๆ พ้นสมัยที่อาจจะปรากฏอยู่บ้างในหนังสือเล่มนี้
กล่าวโดยสรุป คำว่า"ผู้ดี"ในที่นี้จึงมิใช่เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม มิใช่เรื่องแบบแผนพิธีรีตองเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือการสร้างภาพเพื่อหวังผลประโยชน์แอบแฝงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ใจเขา-ใจเรา ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอในทุกยุค เป็นการขัดเกลาตนให้มีระเบียบวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมตตากรุณาต่อกัน มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบ แทนความโกรธ เกลียด หยาบคายต่อกัน เพราะผู้มีจิตใจดีย่อมสะท้อนออกมาในรูปของจริยามรรยาท ความละมุนละไม นุ่มนวล ตรงข้ามกับความกักขละ หยาบคาย ทำอะไรตามอำเภอใจ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ยินดีคบหาหรือแม้แต่พบเห็นเข้าใกล้ ของบุคคลทั่วไป สมบัตินี้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ต้องแบกหามหรือซื้อหา หากแต่เป็นสมบัติประดับกายประดับใจให้เจ้าของเป็นผู้ดีมีคุณค่า มีความสง่างามในตัวเอง ถ้าหากความงามของเหล่าสงฆ์ที่มาจากหลากหลายวรรณะชั้นชนเกิดขึ้นด้วยบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย ให้มีความสำรวมในการดื่มฉัน การเดิน ยืน นั่งนอน ฆราวาสชนทั่วไปก็อาจฝึกตนให้มีความงามได้ด้วยระเบียบวินัยอันเป็นสมบัติของผู้ดีเช่นเดียวกัน


Odz Webslave๑๐ ตุลา ๔๘

อ่านต่อ

http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_11xsk3qh&revision=_latest

Saturday, July 7, 2007

เนรุชาดก




เนรุชาดก


เนรุชาดก เป็นที่มีเนื้อเรื่องกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาสุวรรณหงส์ ได้สอนน้องชายที่ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีร่างกาย และขนสีต่างๆ เมื่อเข้าไปในเขตเนรุบรรพตแล้ว ร่างกายกลับเป็นสีทอง เพราะแสงสะท้อนแห่งเนรุบรรพต โดยเหตุนั้นน้องชายได้เกิดความสงสัยจึงได้ถามพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จึงได้สอนน้องชายว่าสถานที่ใดที่ไม่สามารถจำแนกคนดี กับคนชั่วออกจากกันได้ สถานที่นั้นคนดีไม่ควรจะอยู่.....อ่านต่อ


Tuesday, July 3, 2007

บุคคลเปรียบด้วยน้ำ 7 ประเภท


พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต หน้า 513-518 อุกกุปมสูตรที่ 5 (บุคคลเปรียบด้วยน้ำ 7 ประเภท)

๑. จมลงไปครั้งเดียว จมลงไปเลย ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายต่ำล้วน (บาปชน)

๒. โผล่ขึ้นแล้วจม ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณธรรม แต่คุณธรรมเสื่อมไป (ปุถุชน)

๓. โผล่แล้ว ลอยอยู่ได้ ได้แก่ ผู้มีคุณธรรมไม่เสื่อม (กัลยาณปุถุชน)

๔. โผล่ขึ้นแล้ว เห็นแจ่มแจ้ง เหลียวดู ได้แก่ พระโสดาบัน (ผู้แรกถึงกระแสธรรม)

๕. โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง ได้แก่ พระสกทาคามี (ผู้มีสู่กามภพอีกครั้งเดียว)

๖. โผล่ขึ้นมาแล้ว ไปถึงที่ตื้น หยั่งพื้นทะเลได้ ได้แก่ พระอนาคามี (ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก)

๗. โผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามฝั่งได้ ยืนอยู่บนบก ได้แก่ พระอรหันต์ (ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ)

FW: ปราการแห่งทิฐิ

ปราการแห่งทิฐิ

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เวียดนาม เป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่บันทึกไว้ในข้อเขียนเรื่อง "เมตตาภาวนา : คำสอนว่าด้วยรัก" ของท่าน "ติช นัท ฮันท์ อ่านจบหลายครั้งก็ยังประทับใจ จึงอยากนำมาเล่าต่อ

ชายหนุ่มกับหญิงสาวคู่หนึ่งเพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน ฝ่ายชายก็ถูกเกณฑ์ไปราชการสงคราม หญิงสาวไปส่งสามีจนสุดสายตา เขาหายไปในสงครามเป็นเวลากว่า 3 ปีจึงส่งข่าวคราวกลับมา
เธอดีใจมากจูงมืออ้ายตัวเล็กไปรับผู้เป็นพ่อแต่เช้าตรู่ ทันทีที่พบกันทั้งสองโผเข้าหากัน สัมผัสไออุ่นจากกันและกัน นิ่ง นาน จนเกือบลืมไปว่ามีลูกชายตัวเล็กยืนจ้องตาแป๋วอยู่

ผู้เป็นพ่อดีใจมาก ยื่นมือไปหมายกอดลูกชายแต่เจ้าหนูถอยกรูด แม่ปลอบว่า "อย่าตกใจ เจ้าหนูไม่เคยเห็นหน้าพ่อมาก่อนก็เป็นเช่นนี้แหละ"

ทั้งสามเดินกลับมาตามทางจนถึงตลาด หญิงสาวขอตัวเข้าไปซื้อข้าวของสำหรับทำกับข้าวมื้อพิเศษ ชายหนุ่มมีโอกาสอยู่กับลูกชาย จึงขออุ้มเจ้าตัวน้อยอีกครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ เท่านั้นยังไม่กระไร พอเจ้าลูกชายเริ่มพูดบางสิ่งบางอย่างเขาจึงรู้สึกได้ถึงที่มาแห่งปฏิกิริยาอัน ผิดปกติ "น้าไม่ใช่พ่อของหนู พ่อหนูมาหาแม่ทุกคืน พอแม่นั่งพ่อก็นั่ง พอแม่ยืน พ่อก็ยืน..."

เพียงไม่กี่คำเท่านี้เอง หัวใจของชายหนุ่มผู้เหนื่อยหนักมาจากสงครามอันแสนหฤโหดยาวนานก็พลันกระด้างยัง กับแผ่นศิลา สักพักหนึ่งพอหญิงสาวเดินกลับมาจากตลาด เธอก็พบว่าทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เขาไม่เพียงแต่เปลี่ยนไปเป็นคนละคน หากหน้าเธอเข้าก็ไม่ปรายตามองอีกต่อไป เธอไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น

เย็นวันนั้น อาหารที่เธอบรรจงทำอย่างสุดฝีมือเพื่อต้อนรับการกลับมาของเขาจืดสนิท ทั้งคู่เข้านอนแต่หัวค่ำ ต่างนอนลืมตาโพลงอยู่ในความมืด เธอถามตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นขณะที่เธอแวะไปซื้อของ เขาถามว่าเธอยังเป็นผู้หญิงคนที่เขาสุดรักอย่างจับใจคนเดิมอยู่หรือเปล่า ต่างคนต่างถามกันและกันในความมืด ทว่าเป็นการถามที่เงียบงำจนวังเวง เขาเย็นชากับเธอจากวันแรกจนถึงวันที่สาม ไม่มีการถามไถ่ ไม่มีการโอบกอดอันอบอุ่น ไม่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย ไม่มีแม้แต่การปรายตามองกันและกันอย่างเต็มสองตาฉันสามีหนุ่มภรรยาสาว การณ์เป็นไปดังนั้นอยู่จนถึงเย็นวันที่สาม แล้วความอดทนของเธอก็สิ้นสุดลง เธอตัดสินใจลาจากความระทมทุกข์ที่แม่น้ำสายหนึ่ง ทิ้งปมปัญหาทุกอย่างไว้ข้างหลังอย่างไม่ไยดี

เย็นวันนั้นเขารู้ข่าวการจากไปของเธอด้วยน้ำตานองทั้งสองแก้ม เขาไปรับศพเธอมาบำเพ็ญกุศลอย่างเงียบๆในบ้านของตัวเอง มีเพียงเจ้าหนูเท่านั้นที่อยู่เป็นเพื่อนเขาจนดึกดื่น และคืนนี้ความลึกลับทั้งปวงก็ได้รับการคลี่คลาย

ตะเกียงน้ำมันก๊าดที่จุดไว้บนโลงค่อยๆหรี่ลงจวนเจียนจะดับ เขาเติมน้ำมันแล้วจุดใหม่ เปลวไฟโชนแสงวูบวาบ เขาลุกเดินกลับไปกลับมา ขณะนั้นเองเงาของเขาทาบทอไปปรากฏยังฝาเรือน
เจ้าหนูชี้ไปที่เงาพลางตะโกนลั่น "นั่นไง พ่อหนูมาแล้ว พอแม่นั่งพ่อก็นั่ง พอแม่ยืนพ่อก็ยืน คนนั้นแหละพ่อของหนู"

ชายหนุ่มมองตามเจ้าหนู เห็นเงาของตัวเองทาบทออยู่ที่ฝา จึงเข้าใจขึ้นมาในนาทีนั้นเองว่า "พ่อ" ที่เจ้าหนูเอ่ยถึงก็คือ "เงา" ที่เห็นอยู่นี่เอง ปริศนาทุกอย่างกระจ่างแล้ว

เธอ...คงรักเขามากสินะ ถึงขนาดสมมุติให้เงาตัวเองเป็นเขา แล้วบอกเจ้าหนูว่าเงาก็คือตัวเขา คือ "พ่อ"ที่หายไปในสงคราม โอ...ไม่น่าเลย ความจริงนี้เจ็บปวดเกินไป เจ็บเกินกว่าหัวใจของคนธรรมดาจะรับไหว รุ่งขึ้นอีกวัน เขาชดใช้ความผิดพลาดอย่างมหันต์ของตัวเอง ด้วยการให้แม่น้ำเป็นตุลาการผู้พิพากษาชีวิตเขาอีกชีวิตหนึ่ง...เรื่องราวของเ ขาและเธอเป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่เล่าขานกันมาอีกนานนับนาน

วันนั้น หลังจากเจ้าหนูพูดถึง "พ่อ" ของตัวเองให้เขาฟังที่กลางตลาด หากเขาไม่หุนหันพลันแล่น มีสติสักนิดหนึ่ง ถามไถ่จากเธอว่า "พ่อ" คนที่เจ้าหนูพูดถึงคือใคร และหลังจากที่เขาเย็นชา
ปิดปากเงียบสนิท หากเธอจะอาจหาญถามเขากลับไปว่ามันเกิดอะไรขึ้น เธอก็คงไม่ต้องเจ็บจนเกินเยียวยา และเขาเองก็คงไม่ต้องจบชีวิตอย่างน่าอนาถเช่นนั้น

ไม่ใช่เธอไม่รักเขา และไม่ใช่เขาก็ไม่รักเธอ หากทั้งเธอและเขาต่างรัก ต่างภักดีต่อกันอย่างสุดซึ้ง ความรักของคนทั้งสองบริสุทธิ์ งดงาม หมดจด จนกลายเป็นตำนานเล่าขานดังเรื่องราวของวีรบุรุษวีรสตรีผู้พิชิต

ความผิดพลาดหากจะพึงมีบนเส้นทางแห่งรักแท้จนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมของคนทั้งคู่ เกิดจากเส้นบางๆของปราการแห่ง "ทิฐิ" โดยแท้

หากทั้งเธอและเขา ยอมวาง "ทิฐิ" ลง แล้วหันหน้าเข้าหากันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ถามไถ่จากกันและกันอย่างให้เกียรติกันทั้งสองฝ่าย ไหนเลยจะต้องมาจำพรากทั้งที่ยังรักล้นใจเช่นนั้น

รักเอย รักนั้นงดงาม บริสุทธิ์ อ่อนหวาน ไม่ใช่ความผิดของความรักหรอกจะบอกให้ ผิดที่ใจอันมากด้วย "ทิฐิ" ของทั้งคู่นั่นต่างหาก

ปรารถนารักที่ยั่งยืนหมื่นปี อย่าให้มี "ปราการแห่งทิฐิ" มากางกั้นแค่นั้นพอ........

http://docs.google.com/Doc?id=dgsdcg4f_9d7n6vb

Sunday, July 1, 2007

คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง




คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง



เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา 158420 (จริยธรรมของนักบริหาร)







สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ “คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง” เมื่อรัตนโกสินทศก ๑๒๑ (๒๔๔๕) โดยทรงกล่าวว่าผู้เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งรับราชการอยู่ตามหัวเมือง ถึงจะมีสติปัญญา และวิชาความรู้เท่าใด ถ้าไม่ประพฤติตนให้อยู่ในอัธยาศัยดีโดยสมควรแก่ตำแหน่งแล้ว มักจะไม่ใคร่ได้ดีในราชการ และบางทีก็กลับไปได้ความเสื่อมเสียสิ้นวาสนาไปได้ บรรดาผู้ที่ทำราชการโดยมุ่งหมายเพื่อที่จะให้ได้ความดีมีชื่อเสียงเกียรติยศในราชการ ต้องเอาใจใส่ในความประพฤติของตนจงมาก .....อ่านต่อ



http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_793z6sc&revision=_latest

แปลกจัง (พระพุทธรูปที่วัดป่าดาราภิรมย์)


เห็นภาพพระพุทธรูปองค์ข้างบนใช่ไหม พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารหลวง วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยปกติก็จะไปวัดนี้ปีละหลายๆ ครั้ง ไปไหว้พระ และซื้อของที่มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท พระพุทธรูปองค์นี้ตอนที่เห็นครั้งแรก ท่านยังไม่ได้ปิดทอง ยังเป็นเนื้อสำริด ออกเสียเขียวแก่ๆ พอเห็นครั้งแรกรู้สึกชอบมาก เพราะพระพักตร์ของท่านยิ้ม เหมือนเด็ก ได้คิดไว้ในใจว่าในชาตินี้จะต้องสร้างพระให้สวยแบบนี้ให้ได้ เมื่อไปวัดฯ ครั้งต่อๆ มาก็ได้เห็นว่ามีผู้ปิดทองถวายท่านแล้ว ก็ยังสวยเหมือนเดิม และก็ยังคิดที่อยากจะสร้างพระพุทธรูปให้สวยอย่างนี้เหมือนเดิม
เรื่องแปลกเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (30 มิถุนายน 2550) พี่เล็ก สุเทพ รัตนนุกรม ก่อนกลับบ้านพี่เล็กได้ส่ง SMS ว่า พี่เล็กจะไปแวะที่วัดพระรามเก้า เพื่อซื้อหนังสือธรรมะ พอตอนค่ำมา online เพื่อคุยกันทาง MSN พี่เล็กบอกว่ามีเรื่องเล่า พี่เล็กไปวัดพระรามเก้า และเจอโบรชัวร์ที่ทางวัดป่าดาราภิรมย์ร่วมกับวัดพระรามเก้า ได้สร้างพระพุทธรูปสิบสองปันล้านนาเพื่อนำไปถวายวัดต่างๆ ในลาว พม่า จีน (สิบสองปันนา) จำนวน 60 องค์ พี่เล็กบอกว่าเขามีพระพุทธรูปองค์เล็กให้เช่าบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ราคา 2,500 บาท พี่เล็กได้สั่งจองสององค์ สำหรับพี่เล็กหนึ่งองค์ ให้ต้อมหนึ่งองค์ แล้วพี่เล็กจะเอาปิดทองใหม่ ให้ต้อม ก็ได้บอกพี่เล็กไปว่าไม่ต้อง เพราะเกรงใจพี่เล็กมากๆ พระพุทธรูปราคาแพง ไม่อยากจะให้พี่เล็กจ่ายเงินโดยไม่จำเป็น พี่เล็กก็บรรยายพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปมาร้อยแปดพันประการ บอกว่าหน้าท่านยิ้มมากๆสังฆาฏิเป็นลายกนกลงยา มีองค์จริงที่วัดป่าดาราภิรมย์ ได้อ่านที่พี่เล็กบรรยาย ก็เลยส่งภาพวัดป่าดาราภิรมย์ไปให้ รวมทั้งภาพพระพุทธรูปหลายๆ องค์ รวมทั้งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย โดยไม่คิดว่าพระที่กำลังสร้าง และที่พี่เล็กจะจองคือพระพุทธรูปองค์นี้ สักครู่เมื่อพี่เล็กตอบมาว่าภาพพระพุทธรูปองค์ที่สามนั่นแหละ คือพระเจ้าสิบสองปันล้านนา และที่พี่เล็กจะจอง ก็เลยตกใจ เพราะว่าเป็นพระที่คิดว่าอนาคตหากมีกำลังก็จะสร้าง และจะสร้างองค์เล็กไว้บูชา เพราะชอบท่านมาก และไม่นึกว่าในวันนี้จะมีโอกาสได้ท่านมาบูชา
เรื่องที่คิดว่าแปลกก็คือ ถ้าพี่เล็กไม่ไปวัดพระรามเก้าเมื่อวาน พี่เล็กก็จะไม่เห็นโบรชัวร์เรื่องการสร้างพระ ถ้าพี่เล็กไม่เห็นก็จะไม่เกิดการสั่งจอง หรือกมาพูดคุยกันอย่างนี้ เราก็จะไม่มีโอกาสที่จะได้ท่านมาบูชา หรือหากพี่เล็กเห็น แล้วพี่เล็กไม่ชอบใจ พี่เล็กก็คงไม่ใส่ใจที่จะสั่งจอง เราก็หมดโอกาสที่จะได้ท่านมาบูชาเหมือนกัน หรือหากว่าพี่เล็กสั่งจององค์เดียว แล้วไม่ได้มาเล่าให้ฟัง เราก็จะไม่มีโอกาสได้ท่านมาบูชาเหมือนกัน
ก็เลยคิดว่าเป็ฯเรื่องแปลกและน่าอัศจรรย์ใจ ที่อะไรหลายๆ อย่างเหมือนจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่จะเรียกว่าบังเอิญไปเสียทั้งหมดคงไม่ได้ เอาเป็ฯเว่าเป็ฯเรื่องที่หาคำอธิบายอย่างชัดเจนได้ยาก
ขอน้อมบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ด้วยเศียรเกล้า

Wednesday, June 20, 2007

เลื่อนตัวเองขึ้น แต่อย่าลดคนอื่นลง


อาจารย์สอนยูโดชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งชวนลูกศิษย์หนุ่มชาวอเมริกันเดินทอดน่องไปตามชายหาดยามเย็น ช่วงหนึ่งของการสนทนาอาจารย์ใช้ไม้เท้าขีดเส้นสองเส้นคู่ขนานลงไปบนผืนทรายขาวละเอียด เส้นหนึ่งยาวประมาณห้าฟุต อีกเส้นหนึ่งยาวประมาณสามฟุต
“เธอลองทำให้เส้นที่ยาวสามฟุตยาวกว่าเส้นที่ยาวห้าฟุตให้อาจารย์ดูหน่อย”

ลูกศิษย์ชาวอเมริกันหยุดคิดพินิจเส้นทั้งสองอยู่ครู่หนึ่งก็เผยยิ้มที่ริมฝีปากเหมือนค้นพบคำตอบ ชายหนุ่มบรรจงใช้เท้าข้างหนึ่งค่อยๆ ลบรอยเส้นตรงที่ยาวประมาณห้าฟุตนั้นให้สั้นลงจนเหลือนิดเดียว โดยวิธีนี้เส้นที่ยาวราวสามฟุตจึงโดดเด่นขึ้นมาแทน ลบเสร็จเขาเงยหน้าสบตาอาจารย์พลางขอความเห็น

“เช่นนี้ใช้ได้หรือยังครับ”

ผู้เป็นอาจารย์ใช้ไม้เท้าเคาะหัวลูกศิษย์เบาๆ หนึ่งทีก่อนบอกว่า

“ใช้วิธีนี้ชีวิตเธอก็มีแต่จะล้มเหลวรู้ไหม คนที่คิดจะยกตัวเองให้สูงขึ้น โดยการทำร้ายคู่แข่งนั้นไม่ฉลาดเลย ทางที่ดีจงยกตัวเองขึ้น แต่อย่าลดคนอื่นลง”

ว่าแล้วอาจารย์ก็ขีดเส้นทั้งสองใหม่ แล้วสาธิตให้ดูโดยการปล่อยเส้นที่ยาวห้าฟุตไว้อย่างเดิม แต่ขีดเส้นที่ยาวสามฟุตให้ยาวขึ้นเป็นสิบฟุต ฝ่ายลูกศิษย์ยังคงกังขา

“คู่แข่งของเธอไม่ใช่ศัตรู แต่คือครูของเธอ และเขาคือคนสำคัญที่จะทำให้เธอได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างาม เธอลองคิดดู หากไร้เสียซึ่งคู่แข่ง เธอจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีศักยภาพในการทำงานขนาดไหน ไม่มีอัปลักษณ์ เธอจะรู้จักความสวยงามได้อย่างไร คู่แข่งขันของเรายิ่งเก่งยิ่งฉลาดล้ำ ก็จะทำให้เรารู้จักขยับตัวเองไปให้สูงส่งยิ่งขึ้น นักสู้ที่ดีนั้นเขายืนหยัดอยู่ในสังเวียนได้เพราะมีคู่ต่อสู้ที่เข้มแข็ง คู่ต่อสู่ที่อ่อนแออาจจะทำให้เราเป็นผู้ชนะ แต่ชัยชนะนั้นมักไม่ยืนยง”
“คนที่พยายามจะเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยการฆ่าน้อง ฟ้องนาย และขายเพื่อน ถึงแม้จะทำได้สำเร็จ แต่นั่นก็เป็นความสำเร็จที่ปราศจากเกียรติคุณ ไม่อาจเอ่ยอ้างได้อย่างเต็มภาคภูมิ การเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยวิธีที่ไม่ชอบธรรม กับการเลื่อนตัวเองขึ้นไปโดยปล่อยให้คนอื่นได้ก้าวไปตามวิถีทางของเขาอย่างเสรนั้น มีผลลัพธ์ต่างกันเพียงไร”

“การเลื่อนตัวเองขึ้นพร้อมกับลดคนอื่นลง เธออาจชนะแต่ก็มีศัตรูเป็นของแถม การเลื่อนตัวเองขึ้นไปแต่ไม่ลดคนอื่นลง เธออาจเป็นผู้ชนะพร้อมกับมีเพื่อนแท้เพิ่มขึ้นมากมาย วิธีไหนจะดีกว่ากัน”



มิสเตอร์อินเทอร์เน็ต

ที่มา : การ์ตูนมหาสนุก ปีที่ 15 ฉบับที่ 648 ประจำวันพุธที่ 1-7 ตุลาคม 2546
หน้า 20-21




Monday, June 4, 2007

ขันติและโสรัจจะ : ธรรมะที่นักการเมืองยามนี้พึงปฏิบัติ

ขันติและโสรัจจะ : ธรรมะที่นักการเมืองยามนี้พึงปฏิบัติ


สามารถ มังสัง ผู้จัดการออนไลน์ 4 มิถุนายน 2550

“ธรรมะอันทำให้งามสองประการ คือ ขันติ อันได้แก่ ความอดทน และโสรัจจะ อันได้แก่ ความเสงี่ยมเจียมตน” นี่คือพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกหมวดอังคุตตรนิกายทุกนิบาต


โดยนัยแห่งธรรมะสองประการนี้ หมายถึงว่าผู้ใดมีไว้ในตน คือ จำได้ใช้เป็นก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเป็นคนมีจิตใจงาม เป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่ได้พบเห็น และได้คบค้าสมาคมด้วย


เริ่มด้วยขันติ คือ ความอดทนต่ออนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งที่ไม่น่าพอใจซึ่งผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า อายตนะภายใน 6 ประการ


แต่ความอดทนที่น่าจะเข้าข่ายของคำว่า ขันติ ก็คือความอดทนเนื่องจากรู้เท่าทันแห่งอารมณ์ และหักห้ามใจไม่ตอบโต้ด้วยอากัปกิริยาใดๆ อันมีพื้นฐานมาจากความแค้น และมีการให้อภัยต่อผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์นั้น


ดังนั้น การที่ผู้ใหญ่ด้วยวัยหรือผู้ใหญ่ด้วยตำแหน่งที่เหนือกว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุแห่งอนิฏฐารมณ์ อดทนได้ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นขันติในข้อนี้


แต่การที่ผู้ซึ่งมีอายุน้อยกว่า และผู้ที่มีตำแหน่งด้อยกว่า อดทนต่ออนิฏฐารมณ์ที่ผู้แก่กว่าหรืออายุน้อยแต่ตำแหน่งสูงกว่า จึงไม่น่าจะเรียกว่า ขันติ เพราะการที่อดทนได้นั้นด้วยเกิดจากความกลัวหรือยำเกรง มากกว่าที่จะเกิดจากการรู้เท่าทัน และการให้อภัย


ส่วนโสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตนนั้นมีอยู่ในบุคคลใด ไม่ว่าเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่จะทำให้ผู้นั้นเป็นที่รักเป็นที่พอใจของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศและวัย ซึ่งมีอยู่ในบุคคลผู้มากด้วยอายุ และมากด้วยยศศักดิ์ด้วยแล้วจะยิ่งทำให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลน่ารัก น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่นิยมบุคคลผู้อ่อนน้อมถ่อมตนว่าเป็นคนมีวัฒนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องมี

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000064415

Saturday, June 2, 2007

มนต์ที่เราสวด

มนต์ที่เราสวด
คอลัมน์ บทความธรรมดา

โดย หลวงเมือง



บ้านข้าพเจ้าที่ตลาดพลูมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นทองเหลืองมีพระปุริสลักษณะงาม พ่อเคยเล่าว่าสร้าง (ซื้อ) มา 80 บาท เมื่อ พ.ศ.2453 สมัยก่อนนี้การซื้อพระ การซื้อตำรายา และหนังสือพระธรรมต่างๆ ท่านเรียกว่าสร้าง ส่วนการซื้อเครื่องรางของขลังเรียกว่าเช่า

ต่อมาคำว่าเช่ามีความหมายแน่นอนชัดเจนว่าไม่ใช่ซื้อ แม้จะเสียเงินค่าเช่าแต่ของที่เช่ามาก็มิได้เป็นของเรา เช่นบ้านเช่า จึงใช้ว่าบูชา

กลางคืนก่อนนอนพ่อจะขึ้นไปชั้นบนบ้านเพื่อบูชาพระ คือสวดมนต์ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ยินเพราะสวดในใจ ส่วนข้าพเจ้าก็สวดนโมตัสสะ

ต่อมาพี่สอนให้สวด "อภัยปริตต์" ทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้า เพื่อป้องกันภัย ทีแรกข้าพเจ้าคิดว่าการฝันร้ายทำให้มีภัย ต่อมารู้ว่าความฝันเป็นสิ่งบอกเหตุโดยเทวดาสำแดงให้ประจักษ์ ผู้รู้วิธีจะได้ป้องกันไว้ก่อนคือสวด "อภัยปริตต์" ขึ้นต้นว่ายันทุนนิมิตตังฯ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ญาณสังวร หรือ "สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน" ก็ทรงแนะให้พระธุดงค์กรรมฐานในสายของท่านเจริญพระปริตต์บทนี้ โดยรับสั่งว่า "ถ้าฝันร้ายให้ว่ายันทุนฯ 3 ที"

พระพุทธมนต์ที่ข้าพเจ้าสวดตั้งแต่เด็ก คือ "ชัยมงคลคาถา" โดยตั้งนโม 3 จบ แล้วสวดอิติปิโส สวากขาโต และสุปฏิปันโนไปจนหมดแล้วเริ่มขึ้นบทพาหุงซึ่งมี 8 บท ไปหมดบทที่ขึ้นต้นว่า "ทุคคาหะทิฏฐิ" และต่อด้วย "มหาการุณิโกนาโถ" จนจบ

คาถาพาหุงนี้พระอริยเจ้าองค์ใดจะรจนาไว้คงจะมีนักปราชญ์รู้ได้ ข้าพเจ้าเคยพบในเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งท่านสุนทรภู่แต่งในรัชกาลที่ 3 เมื่อพระอภัยมณีฝากเงือกไว้กับฤๅษีที่เกาะแก้วพิสดาร ตนเองกับสินสมุทรจะอาศัยเรือท้าวสิลราชแห่งกรุงผลึกกลับบ้านเมือง ความว่า

"พระโยคีมีฤทธิ์ประสิทธิ์กล้า

ด้วยเมตตาตอบความตามวิสัย

เป็นไรมีที่ธุระพระอภัย

มิให้ใครลามลวนกวนสีกา

จงหักห่วงบ่วงใยไปเถิดท่าน

เกษมศานต์สมจิตทั้งศิษย์หา

อย่ามีทุกข์สุขังมังคลา

แล้วสวดพาหุงให้ไปจงดี"

แสดงว่าอย่างใกล้ที่สุดคาถาพาหุงหรือคาถาชนะมารก็มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 แล้ว มิใช่แต่งใหม่

มีผู้บอกว่าสวดชัยมงคลคาถาทั้งหมดดังกล่าวมาแล้วนี้ทุกวันเหมือนขุดบ่อ วันหนึ่งจะพบตาน้ำซึ่งมีน้ำใช้ตลอดไป

หน้า 2 มติชน วันที่ 3 มิถุนายน 2550

ลิงค์รูป

http://img251.imageshack.us/img251/5360/img02351hk8.jpg

http://i9.tinypic.com/537f3fm.jpg

Buddha Footprint

[IMG]http://i12.tinypic.com/5z1igl3.jpg[/IMG]

Bodhisatta

[IMG]http://i15.tinypic.com/4rbmjra.jpg[/IMG]

Thursday, May 31, 2007

วิสาขบูชา 2550

Image and video hosting by TinyPic

วิสาขบูชา

วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริมหามายา ได้ประสูติใต้ต้นไม้รังหรือสาละ แห่งลุมพินีวัน

เป็นธรรมดาแห่งองค์พระโพธิสัตว์ เมื่อประสูติแล้วจักสามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ เมื่อประสูติแล้วพระราชกุมารทรงพระดำเนินไป ๗ ก้าว และทรงเปล่งอาสภิวาจา คือ ประกาศพระองค์เป็นเอกในโลกว่า

“อัคโคหะ มัสมิ โลกัสสะ เชฎโฐ เสฏโฐหะมัสมิ
อะยะมันติมา เม ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโว”

แปลว่า “ในโลกนี้เราเป็นหนึ่ง เราเป็นยอด เราเป็นเลิศประเสริฐที่สุด
การเกิดครั้งนี้ของเรา เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มีสำหรับเรา”
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา ได้เสด็จออกผนวช ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กามลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่ไม่ทรงค้นพบธรรมที่พระองค์ทรงแสวงหา จึงได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงบรรลุธรรม จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จนกระทั่งในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ทรงเอาชนะมาร คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ จึงทรงหักห้ามพระทัยเอาชนะมารเหล่านั้น ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ทัศ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ที่ทรงบำเพ็ญมา และต่อมาทรงบรรลุญาณต่างๆ ได้แก่
ปฐมยาม ทรงบรรุลปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติได้ ทำให้ทรงหยั่งรู้ว่าขันธ์ (รูป-นาม) เป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่งเท่านั้นที่รวมกันเข้าเป็นขันธ์ จึงเป็นผลทำให้ทรงกำจัดความหลงใหลในขันธ์ (นาม-รูป) อันเป็นเหตุรักและชังเสียได้
มัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพพจักขุญาณ) ทรงมองเห็นการเกิดและดับของขันธ์ของสรรพสัตว์ได้ และทำให้ทราบว่าขันธ์ (รูป-นาม) มีการเกิดขึ้น แปรปรวน และดับไปเหมือนกันหมด จะมีเลว ดี สุข ทุกข์ ก็เพราะกรรมที่ทำเอาไว้ เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลงใหลในคติแห่งขันธ์ อันเป็นเหตุให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นเสียได้
ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ปัญญารู้เหตุสิ้นไปแห่งอาสวะ เครื่องเศร้าหมองที่หมักหมมอยู่ในสันดาน เป็นเหตุให้ทรงหยั่งรู้ขันธ์ พร้อมทั้งอาการโดยความเป็นเหตุ เป็นผลสืบต่อเนื่องติดต่อกันไป เหมือนลูกโซ่ซึ่งคล้องกันเกี่ยวกันเป็นสาย ที่เรียกว่า อิทัปปัจตาปฏิจจสมุปบาท และทรงเข้าใจในอริยสัจ ๔ ประการ จึงถือว่าทรงตรัสรู้โดยพระองค์เอง ทรงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงเผยแพร่ธรรมแก่สัตว์โลกเป็นเวลา ๔๕ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน และทรงมีพระพุทธปัจฉิมโอวาทว่า
“หันทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ”
แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผ็อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญเดือน ๖ ณ ตำบลสาลวโนทยาน นครกุสินารา รัฐมัลละ

Wednesday, May 30, 2007

สะเดาะเคราะห์

นะโมเม โรเตโข สัพพะเทวานัง
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ
พระเคราะหะจะเทวะดา สุริยัง จันทังปะมุญจะถะ
สะสิภุมโมจะเทวานัง พุทโธลาภัง ภะวิสสะติ
ชีโวสุโขจะมะหาลาภัง สัพพะทุกขัง วินาศสันติ

กราบ ๓ ครั้ง แล้วว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ
สวดอย่างนี้ ๗ วัน

พระคาถาหลวงพ่อปาน (คลองด่าน)
พุทธะเสฏโฐ มะหานาถัง
วัณณะโก สิงหะนาทะกัง
พุทธะสิริสา เตเชนะ มาระเสนา
ปะราชัยยัง ชัยยะ ชัยยะ ภะวันตุเมฯ

(ภาวนาเป็นประจำ จะเกิดเมตตามหาอำนาจ)

Tuesday, May 29, 2007

มงคลชีวิต

มงคลชีวิต

ไม่มีอะไรยาก สำหรับคนที่มีความเพียรไม่มีอะไรง่าย สำหรับคนที่เกียจคร้าน

For the industrious Nothing is difficult,For the lazy-bones Nothing is easy.

พิทักษ์คนพาล ระรานคนดี เป็นวิถีทางที่ผิดกำจัดคนพาล บริหารคนดี เป็นวิธีที่ถูก
It is wrong to protect the rogue And to harass the good;
It is right to get rid of the rogueAnd to attend the good.

โลกนี้เป็นสวรรค์ ถ้าแบ่งปันน้ำใจโลกนี้เป็นไฟ ถ้าหวังได้แต่เงิน
The world will become a paradiseShould the worldlings be charitable;
The world will be aflameShould the worldlings be money-grubbers.

เป็นอยู่อย่างผู้ใหญ่ ต้องใฝ่คุณธรรมเป็นอยู่อย่างผู้นำ ต้องทำเป็นแบบอย่าง
To live as a mature person means to Have righteousness cultivated;
To live as a leader means.To be an exemplar.

เป็นอยู่อย่างคนไทย อย่าหลงใหลต่างชาติเป็นอยู่อย่างฉลาด ต้องสะอาดกายใจ
To live as a Thai means not to Be deluded by foreigners;
To live wisely means to be cleanIn the body and the mind.

อาชีพทำได้ตามกาล การศึกษาทำได้ทุกโอกาส
Occupation is executed at certain times,
Education is executed all the time.

ควายโง่ยังใช้ทำงานได้ คนโง่ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
A stupid buffalo is still good for work,
A stupid fellow is good for nothing.

(พระพุทธพจนวราภรณ์ 8 ธ.ค. 46)


พระพุทธเจ้าตรัสว่า
“ความโศกเกิดจากความรัก
ความกลัวก็เกิดจากความรัก
ถ้าความรักไม่มีเสียแล้ว
ความโศกและความกลัวจะมีมาแต่ที่ไหน”
๑๖๔/๑๔

ศีลมีเจตนาเป็นพื้นฐาน
ถ้าผู้ไม่มีเจตนาจะงดเว้นแล้ว
ศีลทั้งหมดก็จะไม่มีในบุคคลผู้นั้นเลย
เจตนาจะมีก็เพราะผู้นั้นเห็นโทษในข้อนั้นๆ เสียก่อน
จึงงดเว้นพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า เจตนาตัวเดียวเป็นศีล
๙๑/๑๐[ จาก เทสโกวาท หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ]

ทางไปหาสุข-หาทุกข์




ทางขึ้นไปหาสุข ต้องบุกรุก ต้องระหกระเหิน
เดินเมื่อยขา ต้องไต่เขา ฝ่าหนาม ข้ามคงคา แสนระอา ลำบากไม่อยากไป

ทางเดินลงไปหาทุกข์สนุกยิ่ง น่าไปจริงหนทางกว้างใหญ่
ทั้งราบรื่นเดินง่ายกระไร ยั่วยวนใจจริงจัง ทำให้คนส่วนมากอยากจะจร

พระครูอาคมวุฒิคุณ (วิจิตร อินทปัญโญ) วัดใหม่บ้านดอน นครราชสีมา

Sunday, May 27, 2007

อานิสงส์การมีความกตัญญู

อานิสงส์การมีความกตัญญู
๑.ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้
๒.ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก
๓.ทำให้เกิดหิริ โอตตัปปะ
๔.ทำให้เกิดขันติ
๕.ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี
๖.ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู
๗.ทำให้ทั้งมนุษย์ และเทวดาอยากช่วยเหลือ
๘.ทำให้เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิต
๙.ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
๑๐.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

นิทานเศรษฐกิจพอเพียง [ Posttoday 30-03-50




นิทานเศรษฐกิจพอเพียง Posttoday 30-03-50

นิทานไทยเรื่องหนึ่งเล่าถึงพ่อค้า ๒ คน คนหนึ่งค้าข้าว อีกคนค้าหนังวัวควาย ทั้งคู่เดินทางรอนแรมไปต่างเมืองเพื่อซื้อสินค้ากลับมาขาย ระหว่างทางใกล้ค่ำ พบวัดแห่งหนึ่งจึงเข้าไปแนะนำตัวเองและแจ้งกับลูกศิษย์วัดที่พบว่า จะขออาศัยค้างคืนที่วัด ลูกศิษย์วัดไปกราบเรียนเจ้าอาวาส หลวงพ่อไม่ขัดข้องและกำชับให้ลูกศิษย์ดูแลผู้ผ่านทางให้ดีตามอัตภาพของวัด เนื่องจากวัดดังกล่าวเป็นวัดเล็ก ๆ จึงมีมุ้งหมอนห้องหับที่จะใช้เป็นที่นอนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น หลวงพ่อสั่งกับลูกวัดว่า ให้จัดที่นอนให้กับพ่อค้าข้าว ส่วนพ่อค้าหนังสัตว์ให้นอนระเบียงด้านนอก พ่อค้าทั้งสองไม่ขัดข้อง วันรุ่งขึ้นทั้งคู่ก็ออกเดินทางต่อไป ไม่นานนัก พ่อค้าทั้งสองเดินทางกลับมาอีกครั้งหนึ่งในเที่ยวขากลับ และมาขอพักที่วัดเดิมอีก ลูกศิษย์เตรียมจัดที่พักให้แบบเดียวกับครั้งแรก ปรากฏว่าหลวงพ่อกลับสั่งลูกศิษย์ว่า คราวนี้ให้จัดที่นอนให้กับพ่อค้าหนังสัตว์ ส่วนพ่อค้าข้าวให้นอนด้านนอก ลูกศิษย์วัดแม้จะสงสัยแต่ก็ทำตามสั่งเช้าวันรุ่งขึ้น พ่อค้าทั้งสองมานมัสการลาและขอบพระคุณในความเอื้อเฟื้อ พร้อมกับแสดงความชื่นชมว่าหลวงพ่อเป็นผู้มีความยุติธรรมให้สลับกันนอนลำบากคนจะคืน หลวงพ่อตอบว่าที่ให้นอนสลับกันลำบากคนละคืนนั้น ท่านมิได้คิดจากหลักของการเฉลี่ยหรือสลับกันลำบาก เพราะไม่ทราบว่าขากลับพ่อค้าทั้งคู่จะเดินทางผ่านทางนี้อีกหรือไม่ ทั้งลูกศิษย์และพ่อค้าต่างประหลาดใจในคำตอบ จึงกราบเรียนถามว่า ถ้าอย่างนั้น หลวงพ่อเอาเกณฑ์อะไรให้ลูกศิษย์จัดที่นอน ท่านตอบว่าเอาเกณฑ์ของเจตนาในการเดินทาง ท่านคิดว่าในขาไปซื้อสินค้านั้น พ่อค้าข้าวย่อมคิดอยากให้สถานที่ซึ่งตนจะไปซื้อข้าวนั้น บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ผู้คนเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดี มีข้าวกินเหลือขายไม่อดอยากขาดแคลน ตนเองจะได้ซื้อข้าวกลับไปขายได้ แต่พ่อค้าหนังสัตว์ในขาเดินทางไป ย่อมคิดอยากให้เมืองที่ตนเองไปนั้นมีสัตว์ล้มตายจำนวนมาก ๆ เช่นเกิดโรคระบาด เพื่อจะได้มีหนังสัตว์จำนวนมากให้ซื้อกลับไปขาย ดังนั้นพ่อค้าข้าวจึงสมควรได้รับการจัดที่นอนให้ดีกว่าพ่อค้าหนังสัตว์ ในทางกลับกัน เมื่อพ่อค้าทั้งสองเดินทางขากลับ พ่อค้าข้าวย่อมคิดอยากให้บ้านเมืองที่จะไปขายข้าวนั้น เกิดภัยธรรมชาติ ข้าวยากหมากแพง เก็บเกี่ยวไม่ได้ผล เพื่อตนเองจะได้ขายข้าวได้มากและราคาดี แต่พ่อค้าหนังสัตว์ย่อมอยากให้วัวควายแข็งแรงไม่ล้มตาย เพื่อจะได้ขายหนังสัตว์ได้มาก ท่านจึงคิดว่าพ่อค้าหนังสัตว์ควรได้นอนสบายเมื่อพ่อค้าทั้งสองคนฟังแล้วก็ตอบหลวงพ่อไปตามตรงว่าในใจของตนนั้น คิดอย่างที่หลวงพ่อกล่าวมาจริง ๆ คือ คิดแต่รายได้ ผลกำไรของตนเองเป็นสำคัญ และอยากให้สิ่งอื่น ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามประโยชน์ของตนเอง โดยมิได้นึกถึงประโยชน์และชีวิตของผู้อื่นเลย จึงกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่นอกจากจะให้พี่พักแล้วยังให้สติแก่การประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต คือสอนมิให้คิดเอาแต่ได้หรือเอาแต่ประโยชน์ตนเองเป็นที่ตั้ง หากจะต้องคิดถึงประโยชน์ของผู้อื่นด้วย และไม่ควรที่จะหาประโยชน์ของตนเองบนความทุกข์ยากของผู้อื่น หรือด้วยความละโมบโลภมากโดยไม่คิดถึงใจเขาใจเรา และประโยชน์ในภายหน้าซึ่งมีร่วมกัน ที่พุทธศาสนาเรียกว่าประโยชน์สูงสุดซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดความยั่งยืน สรรพชีวิตอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนหรือเบียดเบียนกันน้อยที่สุด การประกอบอาชีพหรือการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงตนเองนั้น ในทางพุทธศาสนาจึงต้องมีจริยธรรมกำกับหรือหลอมรวมอยู่ในวิธีคิดของบุคคลเสมอไป มิเช่นนั้นการประกอบอาชีพหรือการทำมาหากินจะสร้างการเบียดเบียนเอาเปรียบคนอื่น ชีวิตอื่น-สิ่งอื่นในธรรมชาติได้มาก เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นและสิ่งอื่นเป็นอันมาก ที่สำคัญกว่านั้นคือ มนุษย์มีความแตกต่างจากสัตว์โลกทั่วไปซึ่งหากินตามสัญชาติญาณ คือเมื่ออิ่มแล้วก็พอ และไม่มีความสามารถที่จะสะสมหรือแม้สะสมก็เป็นไปตามความจำเป็น เช่น เพียงพอเพื่อให้อยู่รอดได้ในช่วงหน้าแล้ง – หน้าหนาว แต่มนุษย์เรามีความสามารถและความรู้ในทางสติปัญญาที่จะสะสม ในขณะเดียวกันก็มีธรรมชาติฝ่ายต่ำ-ฝ่ายสูง คือ มีด้านหนึ่งซึ่งไม่พอเพียง ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่สิ้นสุด แต่ในทางตรงข้าม มนุษย์ก็มีธรรมชาติในด้านดีงาม คือความเมตตากรุณา และสำนึกทางจริยธรรมที่คิดคำนึงถึงผู้อื่น-สิ่งอื่นด้วย หากได้รับการปลูกฝังอบรมขัดเกลา เรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีกฎเกณฑ์จัดระเบียบการเลี้ยงชีพและใช้ทรัพยากรให้พอเพียงแก่ทุกคน เพื่อมิให้มีความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันมากนัก แม้ในกรณีมีความแตกต่างทางความสามารถ สติปัญญา โอกาส ฯลฯ ก็จะใช้อย่างมีสำนึกทางจริยธรรม คือรู้จักจำกัดการได้-การเอาของตนแต่พอเพียง ไม่คิดเอาเปรียบ มีชีวิตมั่งคั่งเสพสุขบนความเดือดร้อนของผู้อื่น-สิ่งอื่น แม้จะสามารถทำได้โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎเกณฑ์ก็ตาม ความพอเพียงของมนุษย์จึงเกิดขึ้นด้วยการเรียนรู้บ่มเพาะส่งเสริมธรรมชาติฝ่ายดีของมนุษย์ ให้มีวิธีคิดและจิตสำนึกมองเห็นถึงผู้อื่นสิ่งอื่นในชีวิตของเราเป็นเบื้องต้น และมองเห็นประโยชน์ร่วมกันทั้งเฉพาะหน้า(ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน)และประโยชน์สูงสุด คือความยั่งยืนของธรรมชาติ(ธรรม)อันเป็นที่พึ่งสูงสุดและสุดท้ายของสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ ในขณะเดียวกันก็ต้องเกิดจากสังคมมีกฎกติกาและกลไกที่จะควบคุมหรือจัดระเบียบให้องค์ประกอบทุกระดับทั้งปัจเจกบุคคล ชุมชน ธุรกิจ สังคม รัฐ ฯลฯ มิให้โลภได้โดยไม่สิ้นสุด จนกระทั่งสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น-สิ่งอื่น รวมถึงตนเองในที่สุดด้วย เมื่อเกิดภัยธรรมชาติจากการผลาญทรัพยากรในระบบนิเวศจากกิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์กฎเกณฑ์ของสังคมดังกล่าว มิได้คิดจากเกณฑ์เฉลี่ยเหมือนดังที่พ่อค้าในนิทานคิดและเข้าใจ หากมีฐานคิดที่คำนึงถึงจริยธรรมเป็นหลักสำคัญเบื้องต้นของการจัดการ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญที่จะตอบแทนผู้ที่คิดดีคิดชอบอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อให้จริยธรรมและความพอเพียงนั้น"กินได้" สามารถบันดาลความสุขอันยั่งยืนได้จริงด้วย มิใช่เพียงคำพูดหรือแนวคิดลอย ๆ

อรศรี งามวิทยาพงศ์
คอลัมน์ มองย้อนศร[ เป็นคอลัมน์รายสัปดาห์ ลงตีพิมพ์ใน โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันเสาร์ เขียนโดย..ทีมงานพุทธิกา
http://www.budnet.info/webboard/view.php?category=texta&wb_id=116

Thursday, May 24, 2007

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต

ถ้าเราเจริญกรรมฐาน จะพบความสำเร็จของชีวิต เราชนะแล้วซึ่งจิตใจของเรา มีสติสัมปชัญญะ รู้จักระวังตัว รู้จักควบคุมตัวได้ รู้จักเชื่อฟังผู้มีพระคุณได้ เป็นอิสรเสรีในชีวิตได้ เราชนะใจตัวเองได้จึงจะได้ผล จะเป็นคนขยันไม่จับจด รักงาน สู้งาน ไม่มีเดี๋ยว ประหยัด รู้จักใช้ชีวิตและทรัพย์สินอย่างถูกต้อง และคุ้มค่า ไม่ใช่นั่งแล้วไปสวรรค์นิพพานอย่างที่ท่านเข้าใจ ผู้ที่ทำกรรมฐานได้จะรู้จักพัฒนาตนเองและอาชีพให้ดีขึ้น ไม่เป็นคนด้อยโอกาส จะเป็นคนมีทรัพย์ มีชื่อเสียง มีความรัก มีความสามัคคี กายสามัคคี จิตสามัคคี คนที่มีกรรมฐานจะรักครอบครัว รักหลาน รักหมู่คณะ รักประเทศชาติ จะไม่แตกพรรคแตกพวกแต่ประการใด

จะมีคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ เป็นคนอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ อุตสาหะพยายาม และปฏิบัติตามระเบียบวินัย เขาจะรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ จะทำตัวให้ถูกกับกาละ เทศะ กิจจะ ลักษณะ จะไม่น่าเกลียด ไม่เดียดฉันท์ จะมีสติปัญญาสูง มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ประการ คือ 1. รู้จักคิด ระบบความคิดจะดีขึ้น 2. รู้จักปรับตัวเอง 3. รู้จักแก้ปัญหา 4. มีทักษะในการทำงานและค่านิยมที่ดีงาม การพัฒนาคุณภาพชีวิตจากการเจริญกรรมฐาน มีเป้าหมายดังนี้ 1. มุ่งให้ความเป็นอยู่ในครอบครัวดีขึ้น สามีภรรยาไม่มีการทะเลาะกัน ลูกเรียนหนังสือเก่งหมด 2. มุ่งให้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม 3. มุ่งให้มีเมตตาปรารถนาสุขต่อกัน 4. มุ่งให้อยู่ดีกินดี ไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน
ที่มา :
http://www.jarun.org

Wednesday, May 23, 2007

มหาปทุมชาดก


มหาปทุมชาดก

พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่เห็นโทษของผู้อื่นว่าน้อยหรือมาก โดยประการทั้งปวง ไม่พิจารณาด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว ไม่พึงลงอาชญา

กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณาแล้วทรงลงพระราชอาชญา กษัตริย์พระองค์นั้นชื่อว่า ย่อมกลืนกินพระกระยาหารด้วยหนาม เหมือนคนตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วยแมลงวันฉะนั้น

กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ไม่ควรจะลงพระราชอาชญา ไม่ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ที่ควรลงพระราชอาชญา กษัตริย์พระองค์นั้นเป็นเหมือนคนเดินทางไม่ราบเรียบ ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบ

กษัตริย์พระองค์ใด ทรงเห็นเหตุที่ควรลงพระราชอาชญา และไม่ควรลงพระราชอาชญา และทรงเห็นเหตุนั้นโดยประการทั้งปวงเป็นอย่างดีแล้ว ทรงปกครองบ้านเมือง กษัตริย์พระองค์นั้นสมควรปกครองราชสมบัติ

กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วนเดียว หรือมีพระทัยกล้าโดยส่วนเดียว ก็ไม่อาจที่จะดำรงพระองค์ไว้ในอิสริยยศที่สูงใหญ่ได้ เพราะเหตุนั้นกษัตริย์ไม่พึงประพฤติเหตุทั้งสอง คือ พระทัยอ่อนเกินไป และกล้าเกินไป

กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อน ก็ถูกประชาราษฎร์ดูหมิ่น กษัตริย์ผู้มีพระทัยแข็งนักก็มีเวร กษัตริย์ควรทราบเหตุทั้งสองอย่างแล้วประพฤติเป็นกลางๆ

ข้าแต่พระราชา คนมีราคะย่อมพูดมาก แม้คนมีโทสะก็พูดมาก พระองค์ไม่ควรจะให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เพราะเหตุแห่งหญิงเลย

ข้อความจากมหาปทุมชาดก

Tuesday, May 22, 2007



FW: " ลุงแจวเรือจ้าง...กับหนุ่มนักเรียนนอก..."
Date: Tue, 22 May 2007 13:19:16 +0000

เด็กหนุ่มคนหนึ่ง...เป็นชาวสงขลา...
เรียนเก่งมาก...
ได้ทุนไปเรียนอเมริกา...ตั้งแต่เด็ก...จนจบด็อกเตอร์...
จึงกลับมาเยี่ยมบ้าน...
บ้านของเด็กหนุ่ม...
อยู่อีกฟากหนึ่ง...ของทะเลสาบสงขลา...
ต้องนั่งเรือแจว...ข้ามไป...ใช้เวลาแจวประมาณหนึ่งชั่วโมง...
เรือที่ติดเครื่องยนต์...ไม่มีเหรอ...ลุง...?
ไม่มีหรอกหลาน...ที่นี่มันบ้านนอก...
มันห่างไกลความเจริญ...มีแต่เรือแจว...
โอ...ล้าสมัยมากเลยนะลุง...โบราณมาก...
ที่อเมริกา....เขาใช้เครื่องบินกันแล้วลุง...ลุงยังมานั่งแจวเรืออยู่อีก...
ไปส่งผมฝั่งโน้น...เอาเท่าไร...ลุง...?
80 บาท...
OK...ไปเลยลุง...
ในขณะที่ลุงแจวเรือ...
หนุ่มนักเรียนนอก...ก็เล่าเรื่องความทันสมัย...
ความก้าวหน้า...ความศิวิไลช์...ของอเมริกาให้ลุงฟัง...
เมืองไทย...เมื่อเทียบกับอเมริกาแล้ว...ล้าสมัยมาก...
ไม่รู้คนไทย...อยู่กันได้ยังไง...?
ทำไมไม่พัฒนา...ทำไมไม่ทำตามเขา...เลียนแบบเขาให้ทัน...?
ลุง...ลุงใช้คอมพิวเตอร์...ใช้อินเตอร์เน็ต...เป็นไหม...?
ลุงไม่รู้หรอก...ใช้ไม่เป็น...
โอโฮ้...ลุงไม่รู้เรื่องนี้น่ะ....ชีวิตลุงหายไปแล้ว...25 %....
แล้วลุงรู้ไหมว่า...เศรษฐกิจของโลก...ตอนนี้เป็นยังไง...?
ลุงไม่รู้หรอก...
ลุงไม่รู้เรื่องนี้นะ...ชีวิตของลุงหายไป...50 %
ลุง...ลุงรู้เรื่องนโยบายการค้าโลกไหม...ลุง...?
ลุง...ลุงรู้เรื่องดาวเทียมไหม...ลุง...?
ลุงไม่รู้หรอก...หลานเอ๊ย...
ชีวิตของลุง...ลุงรู้อยู่อย่างเดียว...
ว่าจะทำยังไง...ถึงจะแจวเรือให้ถึงฝั่งโน้น...
ถ้าลุงไม่รู้เรื่องนี้...ชีวิตของลุง...หายไปแล้ว...75 %
พอดีช่วงนั้น...
เกิดลมพายุพัดมาอย่างแรง...คลื่นลูกใหญ่มาก...ท้องฟ้ามืดครึ้ม...
นี่พ่อหนุ่ม...เรียนหนังสือมาเยอะ...จบดอกเตอร์จากต่างประเทศ...
ลุงอยากถามอะไรสักหน่อยได้ไหม...?
ได้...จะถามอะไรหรือลุง...?
เอ็งว่ายน้ำเป็นไหม...?
ไม่เป็นจ๊ะ...ลุง....
ชีวิตของเอ็ง...กำลังจะหายไป 100 % ...แล้วพ่อหนุ่ม...
>>>>>>>>>>>เรื่องดี ๆ มีไว้แบ่งปัน<<<<<<<<<<<<<<<<

Thursday, May 10, 2007

พระราชปัจฉิมวาจา พระจอมเกล้าฯ


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นปราชญ์ผู้รอบรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้เนื่องจากได้ทรงผนวชอยู่ถึง 27 พรรษา ก่อนที่จะสวรรคต พระองค์ได้มีพระราชปัจฉิมวาจา เป็นภาษาบาลีว่า


นตฺเถตํ โลกสฺมิย

อุปาทิยมานํ อนววชฺชํ อสฺส


แปลว่า


การยึดถือมั่นอันใดไว้

จะพึงเป็นข้อหาโทษมิได้

อันนั้นไม่มีเลยในโลก


มีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้ว่า


Nowhere in the world

could blamelessness for temporal

attachment be conceived.


จากพระราชปัจฉิมวาจาดังกล่าว ทำให้นึกถึง ธรรมะที่พระอาจารย์พุทธทาสสอนไว้เสมอ คือ


"สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ

สรรพสิ่งทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"


ซึ่งท่านบอกว่านี่คือหัวใจของคำสอนของพระพุทธศาสนา

Thursday, May 3, 2007


ศิลาจารึก วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

ทุกข์
คือ ทุกข์อุปาทานต่างๆ ที่ใจ
๑. สัจจญาณ มีสติเห็นรู้ความเป็นจริงว่า ทุกข์อุปาทานในขันธ์ ๕ เกิดที่ใจ แก้ไขได้ทันที ที่นี่และเดี๋ยวนี้
๒. กิจจญาณ มีสติเห็นรู้วิธีปฏิบัติว่า ต้องกำหนดรู้รูปนามที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปที่ทวารทั้ง ๖ นั้นให้ได้
๓. กตญาณ มีสติเห็นรู้แล้วว่า เรากำหนดรู้ได้แล้วที่ทวารทั้ง ๖ นั้น

สมุทัย
คือ เหตุให้เกิดทุกข์อุปาทานที่ใจ
๑. สัจจญาณ มีสติเห็นรู้ความเป็นจริงว่า ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา (พใจต่างๆ โลภะ) ภาวะตัณหา (ใจเป็นต่างๆ โมหะ) วิภาวะตัณหา (ไม่พอใจต่างๆ โทสะ)
๒. กิจจญาณ มีสติเห็นรู้วิธีปฏิบัติว่า ต้องละตัณหาทั้ง ๓ นั้นให้ได้เด็ดขาด
๓. กตญาณ มีสติเห็นรู้แล้วว่า เราละตัณหาทั้ง ๓ นั้นได้แล้ว

นิโรธ
คือ ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
๑. สัจจญาณ มีสติรู้เห็นความเป็นจริงว่า ความดับไปไม่เหลือแห่งตัญณหาทั้ง ๓ นั้น จึงจะพ้นจากทุกข์อุปาทานทั้งปวงได้จริง
๒. กิจจญาณ มีสติเห็นรู้วิธีปฏิบัติว่า ต้องทำให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาที่เป็นสัมมาทิฎฐิ
๓. กตญาณ มีสติเห็นรู้แล้วว่าเราได้ทำให้เห็นแจ้งได้แล้ว

อริยมรรคมีองค์ 8
เป็นธรรมะกำมือเดียว ที่ใช้ดับทุกข์อุปาทานทั้งปวง
๑. สัจจญาณ มีสติเห็นรู้ความเป็นจริงว่า อริยมมรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นถูกต้องเป็นต้น สามารถดับทุกข์อุปาทานทั้งปวงได้จริง
๒. กิจจญาณ มีสติเห็นรู้วิธีปฏิบัติว่า ต้องทำให้เกิดมีขึ้นมาที่กาย วาจา จิต และทิฏฐิ
๓.กตญาณ มีสติเห็นรู้แล้วว่าเราได้ทำให้เกิดมาได้แล้ว

Saturday, April 28, 2007

วิชาปรัชญาสำหรับนักศึกษาปริญญาโท




วันนี้ได้รับ forwarded mail จากเพื่อนถึงเรื่องปรัชญาชีวิตนี้ ไม่อยากจะให้หาย เลยเอามาใส่ใน blog


นักศึกษาปริญญาโท

ชายหนุ่มคนหนึ่งได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเอกชน

เพื่อให้เป็นวิทยากรพิเศษสอนวิชาปรัชญาให้กับนักศึกษาปริญญาโท

เขาเตรียมการสอนอยู่หลายวันจึงตัดสินใจจะสอนนักศึกษาเหล่านั้นด้วยแบบฝึดหัดง่ายๆ

แต่แฝงไว้ด้วยข้อคิด

เขาเดินเข้าห้องเรียนมาพร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋าคู่ใจ

เมื่อได้เวลาเรียนเขาหยิบเหยือกแก้วขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไปจนเต็ม

"พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง?" เขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท

แต่ละคนมีสีหน้าตาครุ่นคิดว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกัน

"เต็มแล้ว..."

เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อหันไปเปิดกระเป๋าเอกสารคู่ใจหยิบกระป๋องใส่กรวดออกมา

แล้วเทกรวดเม็ดเล็กๆ จำนวนมากลงไปในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบาๆ

กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก

เขาหันไปถามนักศึกษาอีก "เหยือกเต็มหรือยัง?"

นักศึกษามองดูอยู่พักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ "เต็มแล้ว..."

เขายังยิ้มเช่นเดิมหันไปเปิดกระเป๋าหยิบเอาถุงทรายใบย่อมขึ้นมาและเททรายจำนวนไม่น้อยใส่ลงไปในเหยือก

เม็ดทรายไหลลงไปตามช่องว่างระหว่างกรวดกับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย

เขาเทจนทรายหมดถุง เขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบล้นเหยือก

เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง "เหยือกเต็มหรือยัง?"

เพื่อป้องกันการหน้าแตกนักศึกษาปริญญาโทเหล่านั้นหันมามองหน้ากันปรึกษากันอยู่นาน

หลายคนเดินก้าวเข้ามาก้มๆ เงยๆ มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้ง

มีการปรึกษาหารือกันเสียงดังไปทั้งห้องเรียน จวบจนเวลาผ่านไปเกือบห้านาที

หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจึงเป็นตัวแทน เดินเข้ามาตอบอย่างหนักแน่น

"คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์"

"แน่ใจนะ"

"แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ"

คราวนี้เขาหยิบน้ำอัดลมสองกระป๋องออกมาจากใต้โต๊ะแล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ

ไม่นานน้ำอัดลมก็ซึมผ่านทรายลงไปจนหมด ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยกใหญ่

เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี "ไหนพวกคุณบอกว่าเหยือกเต็มแน่ๆ ไง"

เขาพูดพลางยกเหยือกขึ้น

"ผมอยากให้พวกคุณจำบทเรียนวันนี้ไว้เหยือกใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา

ลูกเทนนิสเปรียบเหมือนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก และเพื่อน

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจจริงจัง สูญเสียไปไม่ได้กรวดเหมือนสิ่งสำคัญรองลงมา

เช่น งาน บ้าน รถยนต์ทรายก็คือเรื่องอื่นๆ ที่เหลือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจำเป็นต้องทำ

แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้

เหยือกนี้เปรียบกับชีวิตของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน คุณจะมัวหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆอยู่ตลอดเวลา

ชีวิตเต็มแล้ว...เต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด ไม่มีที่เหลือใส่ให้ลูกเทนนิสแน่นอน

ของคนเราทุกคนถ้าเราใช้เวลาและปล่อยให้เวลาหมดไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราจะไม่มีที่ว่างในชีวิตไว้สำหรับเรื่องสำคัญกว่า

เพราะฉะนั้นในแต่ละวันของชีวิตเราต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุข

ใช้ชีวิตเล่นกับลูกๆ หาเวลาไปตรวจร่างกาย พาคู่ชีวิตกับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด พากันออกกำลังกาย

เล่นกีฬาร่วมกันสักชั่วโมงสองชั่วโมง เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต

เราต้องดูแลเรื่องที่สำคัญที่สุดจริงๆ ดูแลลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด

หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือเราจึงเอามาสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา

นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม "แล้วน้ำที่อาจารย์เทใส่ลงไปล่ะครับ หมายถึงอะไร?"

เขายิ้มพร้อมกับบอกว่า "การที่ใส่น้ำลงไปเพราะอยากให้เห็นว่าไม่ว่าชีวิตของเราจะวุ่นวายสับสนเพียงใด

ในความสับสนและวุ่นวายเหล่านั้นคุณยังมีที่ว่างสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กันเสมอ..."

Thursday, April 26, 2007

สบายใจเพราะได้เพื่อนดี





เมื่อหลายปีก่อน ยังนิยมเสี่ยงเซียมซีธรรมะ โดยแต่ละวันก็จะเปิดหนังสือเซียมซีธรรมะว่า วันนี้จะได้ธรรมะข้อใดมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หัวข้อที่รู้สึกว่าจะได้บ่อยที่สุดคือเรื่อง "สบายใจเพราะได้เพื่อนดี" เนื้อหาของเซียมซีข้อนี้มีอยู่ว่า

ได้เพื่อนดีมีประโยชน์ ทำให้สบายใจ
ลักษณะของเพื่อนดี ได้แก่
๑.เพื่อนอุปการะ คือ เพื่อนที่คอยรักษาทรัพย์ให้ เมื่อมีภัยไม่หลบหนี เป็นที่พึ่งอาศัยได้
๒.เพื่อนร่วมสุข ร่วมทุกข์ เวลามีสุขก็ร่วมสนุก เวลามีทุกข์ก็ไม่ละทิ้ง แม้ชีวิตก็สละให้ได้
๓.เพื่อแนะประโยชน์ เวลาทำชั่วก็ห้ามปรามไว้ คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ได้ฟังได้รู้
๔.เพื่อนมีน้ำใจ เวลามีทุกข์ก็พลอยทุกข์ด้วย เวลามีสุขก็พลอยยินดีมีสุข เวลามีใครติเตียนก็ช่วยแก้ไข เวลามีใครสรรเสริญก็ช่วยสนับสนุน
เพื่อนที่ดีทั้งสี่ประการนี้ ถือว่าเป็นเพื่อนแท้ เป็นเพื่อนที่จริงใจ ใครได้คบเป็นเพื่อนทรัพย์ไม่เสียหาย ชื่อเสียงก็ไม่ถูกทำลาย ได้คบคนดีเป็นเพื่อน เหมือนกำลังเดินทางไปสวรรค์

เซียมซีนี้เป็นหมายเลข ๑๙ ของเซียมซีธรรมะ อ่านแล้วก็ได้เตือนตัวเองว่า หากเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครก็ควรจะปฏิบัติตนให้ครบ ๔ ข้อนี้ด้วย จึงจะสมกับที่เขาไว้วางใจเป็นเพื่อน และเมื่อจะคบกับใครก็ควรดูว่าเขามีคุณสมบัติ ๔ ข้อนี้หรือเปล่า หรืออย่างน้อยก็ควรจะมีสักข้อ สองข้อ

Tuesday, March 6, 2007

ประวัติหลวงปู่ครูบาอิน อินโท

พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอิน อินโท)
พระครูวรวุฒิคุณ หรือครูบาอิน อินโท หรือครูบาฟ้าหลั่ง เดิมชื่อ อิน วุฒิเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของพ่อหนุ่ม และแม่คำป้อ เขียวคำสุข มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา 5 คน
เมื่ออายุ 11-12 ปี มารดาได้นำไปฝากเป็นเด็กวัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 14 ปี โดยมีครูบามหายศ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในขณะที่เป็นสามเณรได้เรียนภาษาล้านนา หัดสวดมนต์ และกัมมัฎฐาน เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน แบบอานาปานสติ โดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อปฏิบัติกัมมัฎฐานแล้ว ท่านมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่งท่านได้ตั้งสัจจะว่าจะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นท่านไม่ฉันภัตตาหาร ฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน และได้มีความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น
ท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2466 โดยมีครูบามหายศ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทท่านจึงเริ่มเรียนภาษาไทย และต่อมาท่านได้เรียนนักธรรมจนจบนักธรรมโท นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาหาความรู้จากตำราโบราณที่ครูอาจารย์จดไว้ เมื่ออกพรรษาท่านมักจะออกรุกขมูลที่ป่าช้า
เมื่อท่านอายุได้ 51 ปี ได้ไปศึกษาวิปัสสนาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยฝึกกับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ครูบาอาจารย์จากทางภาคเหนือที่ได้ไปร่วมปฏิบัติครั้งนั้น ได้แก่ พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่) พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน) และพระเทพสิทธาจารย์ (ครูบาทอง สิริมังคโล วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) เป็นต้น เมื่อท่านสำเร็จกลับมาท่านก็ได้ฝึกสอนภิกษุ สามเณร และญาติโยมตามวิธีนี้
ครูบาอินได้กระทำกิจต่อพระศาสนา จนได้รับตำแหน่งบริหาร และสมณศักดิ์มาเป็นลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดคันธาวาส) พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม พ.ศ. 2496 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2502 เป็นพระครูอิน (พระครูประทวน) พ.ศ. 2506 เป็นพระครูวรวุฒิคุณ (สัญญาบัตร 1) พ.ศ. 2519 เป็นพระครูสัญญาบัตร 2 ราชทินนามเดิม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ครูบาอินได้ไปบูรณะวัด (ร้าง) ฟ้าหลั่ง ซึ่งเป็นวัดสำคัญมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย อันเป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระฟ้าหลั่ง ที่มีการกล่าวถึงในตำนานพระบรมธาตุศรีจอมทอง ครูบาอินได้จำพรรษาอยู่ที่วัดฟ้าหลั่งนานถึง 40 ปี พร้อมกับสร้างเสนาสนะ ศิษยานุศิษย์จึงขนานนามท่านว่า “ครูบาฟ้าหลั่ง” ก่อนจะกลับไปจำพรรษายังวัดคันธาวาส ใน พ.ศ. 2543 โดยมีเจตนาจะไปสร้างเสนาสนะ และรั้วของวัดคันธาวาส
ครูบาอินเป็นพระมหาเถระผู้เป็นรัตตัญญู เจริญด้วยชนมมายุ และพรรษา ท่านเป็นผู้ดำรงชีวิตด้วยความสมถะ และเรียบง่าย เป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีเมตตาจิตต่อพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จนเมื่อพุทธศาสนิกชนทราบถึงปฏิปทาของท่าน ได้เกิดความเลื่อมใส และแวะเวียนไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ รวมทั้งได้ร่วมทำบุญกับท่านโดยการก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งในวัดฟ้าหลั่ง และวัดคันธาวาส
ใน พ.ศ. 2546 ครูบาอินอายุครบ 100 ปี ได้มีการทำบุญฉลองอายุ ณ วัดคันธาวาส และในปีเดียวกันท่านได้อาพาธ เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาล จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2546 สิริรวมอายุได้ 101 ปี 81 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งสรีระสังขารของท่านไว้ ณ วัดคันธาวาสเป็นเวลาถึง 4 ปี และได้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ที่มา: หนังสือวิปัสสนาภูมิ มหาเถรานุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาฟ้าหลั่ง) หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 ณ เมรุชั่วคราววัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

Saturday, February 17, 2007

งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาอิน 6


ไฟลุกไหม้ปราสาทนกหัสดีลิงค์

งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาอิน 5


ภาพของหลวงปู่ ไว้ให้ศิษยานุศิษย์กราบไหว้

งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาอิน 4


ปราสาทนกหัสดีลิงค์ ศิลปะล้านนา สำหรับใช้ประดิษฐานศพของบุคคลสำคัญ ระดับกษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และพระมหาเถระผู้ใหญ่เท่านั้น

งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครูบาอิน 3


ศิษยานุศิษย์ ได้อาราธนาสรีระสังขารของหลวงปู่มานอนบนปราสาทนกหัสดีลิงค์ เพื่อรอพิธีพระราชทานเพลิงศพ

งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครูบาอิน 2


ในขณะที่ศพหลวงปู่ครูบาอิน ได้ตั้งอยู่ ณ วัดคันธาวาสเพื่อให้ศิษยานุศิษย์กราบสักการะบูชา ก่อนขอพระราชทานเพลิง สรีระสังขารของหลวงปู่ได้รับการปิดทอง และประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว ตั้งอยู่บนกุฏิหลังใหม่


Thursday, February 15, 2007

งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครูบาอิน อินโท


เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 ได้ไปสักการะศพหลวงปู่ครูบาอิน อินโท (พระครูวรวุฒิคุณ หรือครูบาฟ้าหลั่ง) ณ วัดคันธาวาส หรือวัดทุ่งปุย หลวงปู่ครูบาเจ้า ได้มรณภาพเมื่อปี 2546 สิริรวมอายุ 101 ปี พรรษา 81 ศิษยานุศิษย์ได้เก็บสรีระสังขารของท่านไว้ถึง 4 ปี ก่อนจะทำพิธิพระราชทานเพลิงศพ

ตลอดเวลาที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้มีโอกาสไปกราบท่านหลายครั้ง ทั้งที่วัดฟ้าหลั่ง ก่อนที่ท่านจะย้ายมาจำพรรษา ณ วัดทุ่งปุยบ้านเกิดของท่าน หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีเมตตาจิตสูงมาก มีอัธยาศัยดี พูจาไพเราะ จึงเป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนทั่วไป จึงขอนำภาพประทับใจที่ได้มีโอกาสถ่ายภาพของท่าน เมื่อเดือนมกราคม 2546 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพราวๆ 3 เดือน

ธรรมะกับการแก้ปัญหาชีวิต ๑

ธรรมะกับการแก้ปัญหาชีวิต ๑

ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงค้นพบและนำมาสั่งสอนแก่ชาวโลก โดยมีจุดหมายเพื่อให้ทุกคนได้พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่งธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นทรงตรัสว่ามีอยู่มากมายมหาศาลเหมือนต้นไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้น มีเพียงเท่าใบไม้ในกำมือ หมายความว่าทรงเลือกแต่สิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ได้เท่านั้นทุกวันนี้มนุษย์เราเมื่อมีทุกข์ ก็พยายามแสวงหาสิ่งแก้ทุกข์ แต่บางทีนั้นสิ่งที่แก้ไขกลับเพิ่มความทุกข์ให้เรามากขึ้น เช่น เราหันไปดื่มเหล้า เพื่อลืมความทุกข์จากการที่คนรักทิ้งเราไป แต่กลับทำให้เราได้ทุกข์อย่างอื่นขึ้นมา เช่น อาการปวดศีรษะ ไม่สบาย ต่างๆ นานา และการดับทุกข์เช่นนี้ ก็เป็นการดับเพียงชั่วคราว คือดับเมื่อเราดื่มเห้าเท่านั้น เมื่อหายเมา หรือตื่นขึ้นมาแล้ว เราก็ทุกข์เหมือนเดิมการดับทุกข์ในทางพระพุทธศาสนานั้น ทรงสอนว่าให้พิจารณาถึงสรรพสิ่งว่าตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) และ อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ท่านสอนว่าเมื่อเรามีทุกข์ เช่น เราโกรธ หรือเกลียดบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้เราพิจารณาว่า ตัวของเขาประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแปรปรวนไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา และไม่นานก็ต้องตาย ในส่วนของอนัตตานั้น การที่เราคิดว่า "เป็นเรา" "เป็นเขา" คือ สิ่งสมมติ แท้จริงไม่มีเรา ไม่มีเขา เพราะเรา และเขาก็คือการประกอบกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และวิญญาณธาตุ หากธาตุเหล่านี้แปรปรวน หรือแยกกันแล้ว เราก็ตาย ไม่มีเรา ไม่มีเขา อีกต่อไป เราและเขาก็เหมือนกันเช่นนี้การพิจารณากฎไตรลักษณ์ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาชีวิตได้ กล่าวคือ ให้เรามองเห็นสภาพทุกอย่างตามความเป็นจริง และความโกรธ ความเกลียด ความอาฆาต พยาบาทของเราจะลดน้อยลง