Monday, July 16, 2007

สมบัติของผู้ดี

สมบัติของผู้ดี
ผู้เรียบเรียง เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราบดี
ผู้จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติม ม.ล.ป้อง มาลากุล ๒๕๐๓
ผู้ตรวจทาน นายสุชีพ ปุญญานุภาพ

ปรารภ
หนังสือเก่า ๆ เล่มนี้ หากจะให้ใครเป็นของขวัญ ถ้าผู้รับจะไม่คิดเพียงว่าเป็นเรื่องเชยล้าสมัย ก็อาจจะพาลโกรธด้วยคิดว่ากำลังถูกด่าทางอ้อมว่าเป็นคนไม่มีมรรยาทชาติตระกูล ดังเช่นที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ในนิยายหรือในละครโทรทัศน์ และส่วนใหญ่แล้วผู้ที่อ้างหนังสือนี้มักจะคิดถึงคนโน้นคนนี้ว่าสมควรต้องนำไปประพฤติเพื่อปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น มากกว่าจะคิดว่าแท้จริงแล้วเราเองแต่ละคนก็ต้องฝึกฝนขัดเกลาและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน ในการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการทำ การพูด และการรู้สึกนึกคิดต่อผู้อื่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งจึงจำต้องมีกฏกติกา มรรยาท ของการอยู่ร่วมกัน โดยพื้นฐานก็คือ สิ่งใดที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา ก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับเขา สิ่งใดที่เรายินดีชื่นชม หรือรักใคร่เอ็นดู เมื่อได้ยินได้เห็น ได้รับการปฏิบัติต่อ คนอื่นก็ปรารถนาจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันโดยเหมาะสมกับเพศ วัย สถานะตำแหน่ง ในสถานที่และโอกาสอันควร จึงนับเป็นหลักการหรือวัตถุประสงค์หลักที่เราควรคำนึงถึง มากกว่าจะติดอยู่กับข้อบกพร่องปลีกย่อยด้านการใช้ภาษาหรือขนบธรรมเนียมเก่า ๆ พ้นสมัยที่อาจจะปรากฏอยู่บ้างในหนังสือเล่มนี้
กล่าวโดยสรุป คำว่า"ผู้ดี"ในที่นี้จึงมิใช่เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม มิใช่เรื่องแบบแผนพิธีรีตองเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือการสร้างภาพเพื่อหวังผลประโยชน์แอบแฝงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ใจเขา-ใจเรา ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอในทุกยุค เป็นการขัดเกลาตนให้มีระเบียบวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมตตากรุณาต่อกัน มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบ แทนความโกรธ เกลียด หยาบคายต่อกัน เพราะผู้มีจิตใจดีย่อมสะท้อนออกมาในรูปของจริยามรรยาท ความละมุนละไม นุ่มนวล ตรงข้ามกับความกักขละ หยาบคาย ทำอะไรตามอำเภอใจ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ยินดีคบหาหรือแม้แต่พบเห็นเข้าใกล้ ของบุคคลทั่วไป สมบัตินี้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ต้องแบกหามหรือซื้อหา หากแต่เป็นสมบัติประดับกายประดับใจให้เจ้าของเป็นผู้ดีมีคุณค่า มีความสง่างามในตัวเอง ถ้าหากความงามของเหล่าสงฆ์ที่มาจากหลากหลายวรรณะชั้นชนเกิดขึ้นด้วยบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย ให้มีความสำรวมในการดื่มฉัน การเดิน ยืน นั่งนอน ฆราวาสชนทั่วไปก็อาจฝึกตนให้มีความงามได้ด้วยระเบียบวินัยอันเป็นสมบัติของผู้ดีเช่นเดียวกัน


Odz Webslave๑๐ ตุลา ๔๘

อ่านต่อ

http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_11xsk3qh&revision=_latest

No comments: