Sunday, February 28, 2010
มาฆบูชารำลึก
มาฆบูชารำลึก
สิริอัญญา ผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2553
ความจริงวันมาฆบูชาในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แต่เพราะสังคมไทยมัวสาละวนสนใจอยู่กับคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 76,000 ล้านบาท จึงทำให้แทบไม่มีใครกล่าวถึงเรื่องมาฆบูชาไป
แม้คอลัมน์นี้ก็ต้องมาทำเรื่องมาฆบูชาลงตีพิมพ์ในวันนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็คล้อยตามกระแสไปเช่นเดียวกัน แต่จะว่าคล้อยตามไปโดยไม่รู้สึกตัวก็ไม่ได้เพราะความจริงก็รู้อยู่ แต่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสียก่อน
ที่ต้องทำอย่างนั้นก็เพราะว่า มีปรากฏการณ์มากหลายที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคมไทย หากปล่อยเนิ่นช้าไปก็จะยิ่งทำให้ความเข้าใจผิดแพร่หลายออกไปมากขึ้น และจะทำให้คนไทยแตกความสามัคคีหรือหลงผิดติดยึดในเรื่องผิดๆ มากขึ้น
ดัง นั้นจึงนึกเสียว่า การทำหน้าที่อย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ดังเจตนารมณ์อันแท้ จริงของวันมาฆบูชาเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เรื่องมาฆบูชารำลึกต้องเลื่อนมาถึงวันนี้
โดยปกติแล้ววันมาฆบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่เนื่องจากปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือเป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน ดังนั้นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนมาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
ก็ต้องเริ่มต้นว่า วันสำคัญในพระพุทธศาสนาของเรานั้น ที่สำคัญก็มีอยู่ 3 วัน คือ
วันของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเรียกว่าวันวิสาขบูชา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
วันของพระธรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมเป็นครั้งแรก โดยแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
และ วันของพระสงฆ์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 และปีนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่งเรียกว่าวันมาฆบูชา และที่เรียกว่าวันมาฆบูชานั้นเป็นไปตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าประเทศพุทธศาสนาทั้งหลายและความอันมีมาในพระ ไตรปิฎกนั้น วันมาฆบูชาเป็นวันที่สำคัญมากที่สุดวันหนึ่ง จึงทรงโปรดให้มีการพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อมาทางราชการโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งของสงฆ์ และฆราวาสก็ได้เผยแพร่อบรมสั่งสอนเยาวชนคนไทยว่า วันมาฆบูชามีความสำคัญ เรียกว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาตเพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 4 อย่างเกิดขึ้น
คือเป็นวันที่พระจันทร์เพ็ญเสวยมาฆะฤกษ์ เป็นวันที่พระอรหันต์มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายมีจำนวน 1,250 รูป พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพที่ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา จากพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เอง และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์
มีการอธิบายขยายความด้วยว่า เหตุที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายเพราะเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน มีความคุ้นเคยที่จะต้องมาชุมนุมกันในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระศิวะเสด็จออกตรวจโลก คือเป็นวันศิวาราตรี
สอนกันไปสอนกันมาอย่างนี้ ชาวพุทธบ้านเราก็รับรู้และมีความเชื่อแล้วถือเอาความสำคัญของวันมาฆบูชาแต่ เพียงวันจาตุรงคสันนิบาตนี้ จึงทำให้แก่นแท้ของวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนานี้ต้องเจือจางไป และทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์อันพึงได้ในโอกาสอันสำคัญนี้
ความ จริงแล้วที่อบรมสั่งสอนกันมานั้นเป็นเรื่องห่างเหินผิดเพี้ยนไปจากเรื่องราว ที่เป็นจริงมากมาย เป็นเรื่องน่าละอายของชาวพุทธบ้านเราที่ใครๆ เขายกย่องว่าเป็นเมืองของพระพุทธศาสนา ที่ว่าผิดเพี้ยนอย่างไรและเนื้อแท้เป็นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความ เข้าใจกันอีกครั้งหนึ่งในเทศกาลอันสำคัญนี้
ประการแรก ฐานะของวันเพ็ญเดือน 3 และพระจันทร์เสวยมาฆะฤกษ์ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะในช่วงเดือน 3 หรือเดือน 4 ในกรณีเป็นปีอธิกมาสนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์โคจรผ่านกลุ่มดาวลูกไก่หรือดาวกฤตติกา หรือดาวมาฆะ จึงเรียกช่วงเวลาเดือนนี้ว่ามาฆะมาส เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี และในช่วงเดือนหนึ่งก็ย่อมมีวันพระจันทร์เพ็ญ จึงมีปรากฏการณ์พระจันทร์เพ็ญในขณะเสวยหรือโคจรผ่านกลุ่มดาวมาฆะ
ประการที่สอง พระอรหันต์ 1,250 รูปนั้น พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เองก็จริง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เพราะช่วงนั้นเป็นพรรษาแรกของโพธิกาล เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ตรัสรู้คือวันเพ็ญเดือน 6 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 3 รวมเวลา 9 เดือน พระสาวกทั้งหลายล้วนได้รับการบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น เพราะช่วงนั้นยังมิได้ประทานวิธีบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทาและญัตติจตุตถกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
ประการที่สาม พระอรหันต์ขีนาสพ 1,250 รูปนั้นไม่ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายดังที่กล่าวอ้างกันมา แต่เป็นพระอรหันต์ที่พำนักอยู่ที่สวนลัฏฐิวัน ซึ่งเป็นสวนที่อยู่ใกล้กับพระราชวังของพระเจ้าพิมพิสาร พระมหาราชเจ้าแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นมหาอำนาจของอินเดียในยุคนั้น
ตรง นี้สำคัญและต้องกล่าวด้วยว่า ณ วันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลนั้น มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว 1,340 รูป ทั้งนี้ไม่นับรวมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระอรหันต์ 1,340 รูปนั้นคือกลุ่มปัญจวัคคีย์ 5 รูป พระยัสสะและเพื่อนกลุ่มแรก 5 รูป พวกเพื่อนของพระยัสสะกลุ่มที่สองอีก 50 รูป กลุ่มภัททวัคคีย์จำนวน 30 รูป กลุ่มพวกชฎิล 3 พี่น้อง 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในจำนวน 1,340 รูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรัสสั่งให้แยกย้ายกันไปประกาศพระพุทธศาสนาก่อน 2 ชุด รวม 90 รูป
กลุ่มแรก จำนวน 60 รูป ได้แก่กลุ่มของปัญจวัคคีย์ 5 รูป และกลุ่มของพระยัสสะ 55 รูป
กลุ่มที่สอง จำนวน 30 รูป ได้แก่กลุ่มของภัททวัคคีย์
ดังนั้นจึงมีพระอรหันต์เหลืออยู่ที่สวนลัฏฐิวันในวันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลเพียง 1,250 รูป หรือกล่าวง่ายๆ ว่าที่เหลืออยู่นั้นเป็นพระอรหันต์จาก 2 กลุ่มเดิมคือกลุ่มชฎิล 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในกลุ่มของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ 250 รูปนั้นปรากฏว่าหลังจากบวชแล้วเพื่อนๆ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อน ต่อมาพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ตาม เหลือพระสารีบุตรเป็นองค์สุดท้ายที่บรรลุช้ากว่าใครเพราะมีปัญญาและมีความ สงสัยในเรื่องราวต่างๆ มาก
ในตอนกลางวันของวันเพ็ญเดือน 3 ปีนั้น หลังจากที่ทรงนำคณะชฎิลไปที่สวนลัฏฐิวันแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดทีฆนขะปริพาชกที่ถ้ำสุกรขาตาเชิงเขาคิชฌกูฏ โดยพระสารีบุตรได้ตามเสด็จไปถวายงานพัด
ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชกนั้น พระสารีบุตรก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นพระอรหันต์องค์ที่ 1,340 และเป็นพระอรหันต์ที่ทำให้จำนวนพระอรหันต์ซึ่งอยู่ที่สวนลัฏฐิวันครบ 1,250 รูปในวันนั้น โดยที่พระทีฆนขะแม้เมื่อได้ฟังธรรมแล้วในวันนั้นก็ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระ อรหันต์
ดัง นั้น พระอรหันต์ 1,250 รูป จึงมิได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายแต่ประการใด และในวันนั้นก็ไม่ใช่วันศิวาราตรี เพราะวันที่พระศิวะตรวจโลกจะอยู่ในช่วงเดือน 11 ไม่ใช่อยู่ในช่วงเดือน 3 ที่สำคัญคือพระอรหันต์ 1,250 รูปนั้นไม่มีรูปใดเป็นพราหมณ์เลย เพราะพื้นเดิมนั้นเป็นพวกชฎิลและปริพาชก ซึ่งเป็นคนละพวกกับพราหมณ์
เมื่อโปรดพระทีฆนขะแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จกลับสวนลัฏฐิวันพร้อมกับพระสารีบุตรซึ่งบรรลุเป็นพระ อรหันต์แล้ว ค่ำคืนนั้นเป็นคืนเพ็ญ พระจันทร์เด่นกระจ่างกลางเวหา ทอสาดแสงนวลตา และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้นั่งชุมนุมกันเพื่อฟังธรรมตามปกติ
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ณ โอกาสและกาละอันนั้น
พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแก่พระอรหันต์ทั้งหลายว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่นั้นเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งอดีตพระพุทธเจ้าบางพระองค์มีโพธิกาลยาวมาก มีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ 2-3 ครั้งก็มี แต่ในโพธิกาลของพระองค์นั้นสั้น ดังนั้นจึงมีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวนี้
ดัง นั้นชาวพุทธจึงพึงเข้าใจว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ในวันเพ็ญเดือน 3 ในโพธิกาลเพื่อแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นกรณียกิจหรือประเพณีของพระ พุทธเจ้าทุกพระองค์
โอวาทปาติโมกข์ที่ทรงแสดงในราตรีนั้น มีความว่า
“ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่านิพพานเป็นบรมธรรม
ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
วันนี้ เนื้อที่มีเท่านี้แหละ ขอท่านทั้งหลายพึงน้อมนำและรับเอาประโยชน์แห่งโอวาทปาติโมกข์ให้เสมือนหนึ่ง ได้นั่งสดับอยู่เบื้องหน้าพระตถาคตเจ้านั้นเถิด.
Saturday, February 27, 2010
"มาฆบูชา" วันแห่งความรัก
"มาฆบูชา" วันแห่งความรัก
ความรักของสมเด็จพระพุทธองค์ สูงส่งบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่ให้ทุกข์ไม่ให้โทษไม่ให้ภัย แก่ชีวิตจิตใจใดทั้งนั้น
ด้วยทรงมีความรักบริสุทธิ์สูงส่ง ไม่มีเสมอเหมือน
พระพุทธองค์จึงทรงแผ่พระมหากรุณาได้กว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีขอบเขต ทั้งแก่พรหมเทพ มนุษย์สัตว์
ปรากฏแจ้งชัดใน โอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันมาฆบูชา
พึงไม่ทำบาปทั้งปวง
พึ่งทำกุศลให้ถึงพร้อม
พึงรักษาจิตของตนให้ผ่องใส
บาปย่อมก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนไม่ให้ทำ
กุศลย่อมเป็นคุณแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้ทำ
จิตผ่องใสคือจิตที่ไกลได้จากกิเลสโกรธหลง ที่มีอยู่เต็มโลก
ย่อมให้ความสุขสงบอย่างยิ่งจนถึงเป็นบรมสุข
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้รักษาจิตของตน
: แสงส่องใจ มาฆบูชา ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
: สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา dhammajak.net
ความรักของสมเด็จพระพุทธองค์ สูงส่งบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่ให้ทุกข์ไม่ให้โทษไม่ให้ภัย แก่ชีวิตจิตใจใดทั้งนั้น
ด้วยทรงมีความรักบริสุทธิ์สูงส่ง ไม่มีเสมอเหมือน
พระพุทธองค์จึงทรงแผ่พระมหากรุณาได้กว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีขอบเขต ทั้งแก่พรหมเทพ มนุษย์สัตว์
ปรากฏแจ้งชัดใน โอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันมาฆบูชา
พึงไม่ทำบาปทั้งปวง
พึ่งทำกุศลให้ถึงพร้อม
พึงรักษาจิตของตนให้ผ่องใส
บาปย่อมก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนไม่ให้ทำ
กุศลย่อมเป็นคุณแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้ทำ
จิตผ่องใสคือจิตที่ไกลได้จากกิเลสโกรธหลง ที่มีอยู่เต็มโลก
ย่อมให้ความสุขสงบอย่างยิ่งจนถึงเป็นบรมสุข
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้รักษาจิตของตน
: แสงส่องใจ มาฆบูชา ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
: สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา dhammajak.net
Tuesday, February 23, 2010
การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต
การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต
โดยพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต
ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น
๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก
มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่
หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่
อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้
๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต
เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต
ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป
๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย
มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ
๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ไม่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาติที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็นความทุกข์
๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่านั้น
๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การ พูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด
ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิต
และการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมี ตามมาอย่างมิสงสัย
นำมาจาก
http://www.dhammajak...pic.php?t=13099
โดยพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต
ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น
๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก
มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่
หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่
อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้
๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต
เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต
ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป
๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย
มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ
๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ไม่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาติที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็นความทุกข์
๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่านั้น
๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การ พูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด
ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิต
และการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมี ตามมาอย่างมิสงสัย
นำมาจาก
http://www.dhammajak...pic.php?t=13099
หนังสือลักษณะไทย
หนังสือชุด 'ลักษณะไทย'
30 กันยายน 2552
ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของคนไทย ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้เป็นธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่วันที่ ๑๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ มีความประสงค์ที่จะดำเนินการจัดทำหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดสมบูรณ์ครบ ๔ เล่ม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยจัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด หรือ ๘,๐๐๐ เล่ม เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์รับมอบในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งนี้ หนังสือส่วนหนึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และส่วนที่เหลือทั้งหมดได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ธนาคารดำเนินการส่งมอบให้แก่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเป็นวิทยาทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ โดยหนังสือชุดนี้จะไม่มีวางจำหน่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นหนังสือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดก ของชาติสืบไป
โครงการจัดทำหนังสือชุด “ลักษณะไทย” นี้ เกิดขึ้นจากดำริของคุณบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ด้วยความพยายามและความปราถนาอันเป็นปณิธานของธนาคารกรุงเทพ ในการอุทิศงานทางวิชาการให้แก่การศึกษาของชาติ และมีส่วนสร้างสรรค์งาน เพื่อจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและชาติบ้าน เมือง ซึ่งในที่สุดก็เห็นว่า เรื่องราวและความเป็นมาของชนชาติไทยที่แสดงออกในรูปของศิลปวัตถุ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ ดนตรี ตลอดจนศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ อันเป็นมรดกต่อเนื่องทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ก่อประโยชน์ในด้านการใช้สอย การสนองอารมณ์และอำนาจ ความสุขสบายแก่ชีวิตประจำวันของคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตายนั้น ประกอบกันเป็น ‘ลักษณะไทย’ ที่ควรแก่การศึกษาและน่ารู้น่าติดตาม สมควรประมวลเข้าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของชาติไทยได้อีกทาง หนึ่ง ธนาคารได้เริ่มดำเนินการจัดทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะไทย และวัฒนธรรมไทยในทุกๆ ด้านไว้ เนื้อหาภายในเล่มล้วนเป็นผลงานของนักวิชาการไทยผู้เป็นปราชญ์ในแต่ละสาขา ที่ได้ศึกษาเรื่องราวเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยแขนงต่างๆ และมีสาระเกี่ยวข้องกับความเป็นไทย ดังคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรณาธิการท่านแรก ว่า “... ด้วยเจตนาเพื่อการเรียนรู้ถึงลักษณะไทย ด้วยการมองเมืองไทยและคนไทย โดยผ่านทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม อันเป็นมรดกตกทอด จากรุ่นสู่รุ่นนับแต่อดีต...” หนังสือชุดนี้จึงเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ อันมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเรื่องราวความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ที่ทรงคุณค่า ด้วยความวิริยะอุตสาหะพยายามของนักวิชาการ ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง เป็นเวลายาวนานกว่า ๓๐ ปี
การจัดทำหนังสือชุด นี้ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กรุณารับเป็นบรรณาธิการท่านแรก และพันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับช่วงดำเนินงานต่อมาจนสำเร็จเรียบร้อยในปัจจุบัน โดยธนาคารได้เชิญนักวิชาการทั้งจากสถาบันภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการอิสระ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพอที่จะยึดถือเป็นหลักฐานได้ มาร่วมเขียนบทความทางด้านวัฒนธรรมแต่ละแขนงที่ตนมีความสนใจและเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จึงได้ทำการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ และได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็นเวลาหลายปี และด้วยทุนสนับสนุนของทางธนาคาร ทำให้นักวิชาการแต่ละท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และจัดทำภาพประกอบแนวความคิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เหล่านี้ได้รวบรวมอาจารย์ผู้เยาว์และนักศึกษา เข้ามาช่วยงานวิจัย ดังนั้นนอกเหนือไปจากการนำข้อมูลการวิจัยมารวบรวมจัดพิมพ์แล้ว หนังสือชุดนี้ยังมีส่วนช่วยอบรมและสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ในหลายสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีผลระยะยาวในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต สำหรับหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดพิเศษเฉลิมพระเกียรติ แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น ๔ เล่มใหญ่ ดังนี้
ลักษณะไทยเล่มที่ ๑ “พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๒ “ภูมิหลัง”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๓ “ศิลปะการแสดง”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๔ “วัฒนธรรมพื้นบ้าน”
จาก ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น สามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ และทุ่มเทของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และทีมงานของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้คิดริเริ่ม ให้ทุนทรัพย์อุดหนุน และเป็นกำลังสำคัญในการจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมุมานะพยายามในการวิจัยค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับ วัฒนธรรมไทยแขนงต่างๆ กัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องราว และประสบการณ์ที่สั่งสมมาด้วยระยะเวลาอันยาวนาน และนำมาศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อแสวงหาลักษณะไทย กลั่นออกมาเป็นผลงานที่ได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็นเวลาหลายปีของนักวิชาการ ไทยจากต่างสาขาอาชีพ ในการจัดทำหนังสือที่ทรงคุณค่าชุดนี้เพื่อให้เป็นบรรณานุสรณ์ของบรรพชนไทย และยึดถือเป็นหลักฐานในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต
บัด นี้ปฏิธานของธนาคารได้บรรลุผลสำเร็จดีทุกประการแล้ว ธนาคารจึงขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช และนักวิชาการร่วมโครงการทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นกำลังสำคัญแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่สิกขกามบุคคลอย่างกว้างขวางสืบไปตลอดกาลนาน
http://www.laksanathai.com/index.aspx
30 กันยายน 2552
ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของคนไทย ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้เป็นธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่วันที่ ๑๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ มีความประสงค์ที่จะดำเนินการจัดทำหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดสมบูรณ์ครบ ๔ เล่ม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยจัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด หรือ ๘,๐๐๐ เล่ม เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์รับมอบในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งนี้ หนังสือส่วนหนึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และส่วนที่เหลือทั้งหมดได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ธนาคารดำเนินการส่งมอบให้แก่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเป็นวิทยาทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ โดยหนังสือชุดนี้จะไม่มีวางจำหน่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นหนังสือที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดก ของชาติสืบไป
โครงการจัดทำหนังสือชุด “ลักษณะไทย” นี้ เกิดขึ้นจากดำริของคุณบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ด้วยความพยายามและความปราถนาอันเป็นปณิธานของธนาคารกรุงเทพ ในการอุทิศงานทางวิชาการให้แก่การศึกษาของชาติ และมีส่วนสร้างสรรค์งาน เพื่อจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและชาติบ้าน เมือง ซึ่งในที่สุดก็เห็นว่า เรื่องราวและความเป็นมาของชนชาติไทยที่แสดงออกในรูปของศิลปวัตถุ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ ดนตรี ตลอดจนศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ อันเป็นมรดกต่อเนื่องทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ก่อประโยชน์ในด้านการใช้สอย การสนองอารมณ์และอำนาจ ความสุขสบายแก่ชีวิตประจำวันของคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตายนั้น ประกอบกันเป็น ‘ลักษณะไทย’ ที่ควรแก่การศึกษาและน่ารู้น่าติดตาม สมควรประมวลเข้าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของชาติไทยได้อีกทาง หนึ่ง ธนาคารได้เริ่มดำเนินการจัดทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะไทย และวัฒนธรรมไทยในทุกๆ ด้านไว้ เนื้อหาภายในเล่มล้วนเป็นผลงานของนักวิชาการไทยผู้เป็นปราชญ์ในแต่ละสาขา ที่ได้ศึกษาเรื่องราวเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยแขนงต่างๆ และมีสาระเกี่ยวข้องกับความเป็นไทย ดังคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรณาธิการท่านแรก ว่า “... ด้วยเจตนาเพื่อการเรียนรู้ถึงลักษณะไทย ด้วยการมองเมืองไทยและคนไทย โดยผ่านทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม อันเป็นมรดกตกทอด จากรุ่นสู่รุ่นนับแต่อดีต...” หนังสือชุดนี้จึงเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ อันมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเรื่องราวความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน ที่ทรงคุณค่า ด้วยความวิริยะอุตสาหะพยายามของนักวิชาการ ในการศึกษาค้นคว้า รวบรวมและเรียบเรียง เป็นเวลายาวนานกว่า ๓๐ ปี
การจัดทำหนังสือชุด นี้ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กรุณารับเป็นบรรณาธิการท่านแรก และพันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้รับช่วงดำเนินงานต่อมาจนสำเร็จเรียบร้อยในปัจจุบัน โดยธนาคารได้เชิญนักวิชาการทั้งจากสถาบันภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการอิสระ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพอที่จะยึดถือเป็นหลักฐานได้ มาร่วมเขียนบทความทางด้านวัฒนธรรมแต่ละแขนงที่ตนมีความสนใจและเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย จึงได้ทำการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ และได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็นเวลาหลายปี และด้วยทุนสนับสนุนของทางธนาคาร ทำให้นักวิชาการแต่ละท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และจัดทำภาพประกอบแนวความคิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าเพื่อหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เหล่านี้ได้รวบรวมอาจารย์ผู้เยาว์และนักศึกษา เข้ามาช่วยงานวิจัย ดังนั้นนอกเหนือไปจากการนำข้อมูลการวิจัยมารวบรวมจัดพิมพ์แล้ว หนังสือชุดนี้ยังมีส่วนช่วยอบรมและสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ในหลายสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีผลระยะยาวในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต สำหรับหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดพิเศษเฉลิมพระเกียรติ แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น ๔ เล่มใหญ่ ดังนี้
ลักษณะไทยเล่มที่ ๑ “พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๒ “ภูมิหลัง”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๓ “ศิลปะการแสดง”
ลักษณะไทยเล่มที่ ๔ “วัฒนธรรมพื้นบ้าน”
จาก ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น สามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ และทุ่มเทของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และทีมงานของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้คิดริเริ่ม ให้ทุนทรัพย์อุดหนุน และเป็นกำลังสำคัญในการจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมุมานะพยายามในการวิจัยค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับ วัฒนธรรมไทยแขนงต่างๆ กัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องราว และประสบการณ์ที่สั่งสมมาด้วยระยะเวลาอันยาวนาน และนำมาศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อแสวงหาลักษณะไทย กลั่นออกมาเป็นผลงานที่ได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็นเวลาหลายปีของนักวิชาการ ไทยจากต่างสาขาอาชีพ ในการจัดทำหนังสือที่ทรงคุณค่าชุดนี้เพื่อให้เป็นบรรณานุสรณ์ของบรรพชนไทย และยึดถือเป็นหลักฐานในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต
บัด นี้ปฏิธานของธนาคารได้บรรลุผลสำเร็จดีทุกประการแล้ว ธนาคารจึงขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช และนักวิชาการร่วมโครงการทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นกำลังสำคัญแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ ‘ลักษณะไทย’ ชุดนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่สิกขกามบุคคลอย่างกว้างขวางสืบไปตลอดกาลนาน
http://www.laksanathai.com/index.aspx
Friday, February 5, 2010
Subscribe to:
Posts (Atom)