Tuesday, July 31, 2007

วันอาสาฬหบูชา 2550




วันเกิดปีนี้ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา (29 กรกฎาคม 2550) เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ถือเป็นการเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรก และถือเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ มีพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

เนื้อหาของพระธัมมจักกัปวัตนสูตร โดยย่อ ลองไปดูตามลิ้งค์ข้างล่าง

http://docs.google.com/Doc?docid=dgsdcg4f_13c2zz76&hl=en

Monday, July 16, 2007

กิจสิบประการที่ผู้ประพฤติไม่เคยเสียใจ

กิจสิบประการที่ผู้ประพฤติไม่เคยเสียใจ

หนังสือประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าว ประกอบด้วยโคลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น ๑๑ บท ได้แก่ โคลงวชิรญาณสุภาษิต โคลงสุภาษิตพิพิธธรรม โคลงสุภาษิตอิสปปกรณัม โคลงสุภาษิตสอนผู้เป็นข้าราชการ โคลงว่าด้วยความสุข โคลงสุภาษิตบางปอิน โคลงกระทู้สุภาษิต โคลงสุภาษิตโสฬศไตรยางค์ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ โคลงพระราชปรารภความสุขทุกข์ และโคลงสุภาษิตเบ็ดเตล็ด

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ทุกบท ได้สะท้อนให้เห็นถึงพระราชอัจฉริยภาพขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระคุณวิเศษอันไม่เพียงแต่ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการเมืองการปกครองเท่านั้น บทพระราชนิพนธ์ทุกบทที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แม้จะมุ่งหมายทางด้านความบันเทิง แต่ก็ได้สอดแทรกสุภาษิตสอนใจผู้อ่านไว้อย่างถ้วนหน้า

โคลงสุภาษิตบทหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจ และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประพฤติปฎิบัติตนในสังคม จึงได้นำมาเผยแพร่ในที่นี้ คือโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษ ดังนี้


อ่านต่อ...
http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_12f6dfbc&revision=_latest

สมบัติของผู้ดี

สมบัติของผู้ดี
ผู้เรียบเรียง เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราบดี
ผู้จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติม ม.ล.ป้อง มาลากุล ๒๕๐๓
ผู้ตรวจทาน นายสุชีพ ปุญญานุภาพ

ปรารภ
หนังสือเก่า ๆ เล่มนี้ หากจะให้ใครเป็นของขวัญ ถ้าผู้รับจะไม่คิดเพียงว่าเป็นเรื่องเชยล้าสมัย ก็อาจจะพาลโกรธด้วยคิดว่ากำลังถูกด่าทางอ้อมว่าเป็นคนไม่มีมรรยาทชาติตระกูล ดังเช่นที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ในนิยายหรือในละครโทรทัศน์ และส่วนใหญ่แล้วผู้ที่อ้างหนังสือนี้มักจะคิดถึงคนโน้นคนนี้ว่าสมควรต้องนำไปประพฤติเพื่อปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น มากกว่าจะคิดว่าแท้จริงแล้วเราเองแต่ละคนก็ต้องฝึกฝนขัดเกลาและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน ในการอยู่ร่วมกันในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีปฏิสัมพันธ์ในการทำ การพูด และการรู้สึกนึกคิดต่อผู้อื่น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปโดยราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งจึงจำต้องมีกฏกติกา มรรยาท ของการอยู่ร่วมกัน โดยพื้นฐานก็คือ สิ่งใดที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา ก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับเขา สิ่งใดที่เรายินดีชื่นชม หรือรักใคร่เอ็นดู เมื่อได้ยินได้เห็น ได้รับการปฏิบัติต่อ คนอื่นก็ปรารถนาจะได้รับเช่นเดียวกัน ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกันโดยเหมาะสมกับเพศ วัย สถานะตำแหน่ง ในสถานที่และโอกาสอันควร จึงนับเป็นหลักการหรือวัตถุประสงค์หลักที่เราควรคำนึงถึง มากกว่าจะติดอยู่กับข้อบกพร่องปลีกย่อยด้านการใช้ภาษาหรือขนบธรรมเนียมเก่า ๆ พ้นสมัยที่อาจจะปรากฏอยู่บ้างในหนังสือเล่มนี้
กล่าวโดยสรุป คำว่า"ผู้ดี"ในที่นี้จึงมิใช่เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม มิใช่เรื่องแบบแผนพิธีรีตองเจ้ายศเจ้าอย่าง หรือการสร้างภาพเพื่อหวังผลประโยชน์แอบแฝงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ใจเขา-ใจเรา ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นมาตรฐานทางสังคมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอในทุกยุค เป็นการขัดเกลาตนให้มีระเบียบวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมตตากรุณาต่อกัน มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เอารัดเอาเปรียบ แทนความโกรธ เกลียด หยาบคายต่อกัน เพราะผู้มีจิตใจดีย่อมสะท้อนออกมาในรูปของจริยามรรยาท ความละมุนละไม นุ่มนวล ตรงข้ามกับความกักขละ หยาบคาย ทำอะไรตามอำเภอใจ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ยินดีคบหาหรือแม้แต่พบเห็นเข้าใกล้ ของบุคคลทั่วไป สมบัตินี้ไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ต้องแบกหามหรือซื้อหา หากแต่เป็นสมบัติประดับกายประดับใจให้เจ้าของเป็นผู้ดีมีคุณค่า มีความสง่างามในตัวเอง ถ้าหากความงามของเหล่าสงฆ์ที่มาจากหลากหลายวรรณะชั้นชนเกิดขึ้นด้วยบัญญัติแห่งพระธรรมวินัย ให้มีความสำรวมในการดื่มฉัน การเดิน ยืน นั่งนอน ฆราวาสชนทั่วไปก็อาจฝึกตนให้มีความงามได้ด้วยระเบียบวินัยอันเป็นสมบัติของผู้ดีเช่นเดียวกัน


Odz Webslave๑๐ ตุลา ๔๘

อ่านต่อ

http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_11xsk3qh&revision=_latest

Saturday, July 7, 2007

เนรุชาดก




เนรุชาดก


เนรุชาดก เป็นที่มีเนื้อเรื่องกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาสุวรรณหงส์ ได้สอนน้องชายที่ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีร่างกาย และขนสีต่างๆ เมื่อเข้าไปในเขตเนรุบรรพตแล้ว ร่างกายกลับเป็นสีทอง เพราะแสงสะท้อนแห่งเนรุบรรพต โดยเหตุนั้นน้องชายได้เกิดความสงสัยจึงได้ถามพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จึงได้สอนน้องชายว่าสถานที่ใดที่ไม่สามารถจำแนกคนดี กับคนชั่วออกจากกันได้ สถานที่นั้นคนดีไม่ควรจะอยู่.....อ่านต่อ


Tuesday, July 3, 2007

บุคคลเปรียบด้วยน้ำ 7 ประเภท


พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 อังคุตรนิกาย สัตตกนิบาต หน้า 513-518 อุกกุปมสูตรที่ 5 (บุคคลเปรียบด้วยน้ำ 7 ประเภท)

๑. จมลงไปครั้งเดียว จมลงไปเลย ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายต่ำล้วน (บาปชน)

๒. โผล่ขึ้นแล้วจม ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณธรรม แต่คุณธรรมเสื่อมไป (ปุถุชน)

๓. โผล่แล้ว ลอยอยู่ได้ ได้แก่ ผู้มีคุณธรรมไม่เสื่อม (กัลยาณปุถุชน)

๔. โผล่ขึ้นแล้ว เห็นแจ่มแจ้ง เหลียวดู ได้แก่ พระโสดาบัน (ผู้แรกถึงกระแสธรรม)

๕. โผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง ได้แก่ พระสกทาคามี (ผู้มีสู่กามภพอีกครั้งเดียว)

๖. โผล่ขึ้นมาแล้ว ไปถึงที่ตื้น หยั่งพื้นทะเลได้ ได้แก่ พระอนาคามี (ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก)

๗. โผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามฝั่งได้ ยืนอยู่บนบก ได้แก่ พระอรหันต์ (ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ)

FW: ปราการแห่งทิฐิ

ปราการแห่งทิฐิ

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เวียดนาม เป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่บันทึกไว้ในข้อเขียนเรื่อง "เมตตาภาวนา : คำสอนว่าด้วยรัก" ของท่าน "ติช นัท ฮันท์ อ่านจบหลายครั้งก็ยังประทับใจ จึงอยากนำมาเล่าต่อ

ชายหนุ่มกับหญิงสาวคู่หนึ่งเพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน ฝ่ายชายก็ถูกเกณฑ์ไปราชการสงคราม หญิงสาวไปส่งสามีจนสุดสายตา เขาหายไปในสงครามเป็นเวลากว่า 3 ปีจึงส่งข่าวคราวกลับมา
เธอดีใจมากจูงมืออ้ายตัวเล็กไปรับผู้เป็นพ่อแต่เช้าตรู่ ทันทีที่พบกันทั้งสองโผเข้าหากัน สัมผัสไออุ่นจากกันและกัน นิ่ง นาน จนเกือบลืมไปว่ามีลูกชายตัวเล็กยืนจ้องตาแป๋วอยู่

ผู้เป็นพ่อดีใจมาก ยื่นมือไปหมายกอดลูกชายแต่เจ้าหนูถอยกรูด แม่ปลอบว่า "อย่าตกใจ เจ้าหนูไม่เคยเห็นหน้าพ่อมาก่อนก็เป็นเช่นนี้แหละ"

ทั้งสามเดินกลับมาตามทางจนถึงตลาด หญิงสาวขอตัวเข้าไปซื้อข้าวของสำหรับทำกับข้าวมื้อพิเศษ ชายหนุ่มมีโอกาสอยู่กับลูกชาย จึงขออุ้มเจ้าตัวน้อยอีกครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ เท่านั้นยังไม่กระไร พอเจ้าลูกชายเริ่มพูดบางสิ่งบางอย่างเขาจึงรู้สึกได้ถึงที่มาแห่งปฏิกิริยาอัน ผิดปกติ "น้าไม่ใช่พ่อของหนู พ่อหนูมาหาแม่ทุกคืน พอแม่นั่งพ่อก็นั่ง พอแม่ยืน พ่อก็ยืน..."

เพียงไม่กี่คำเท่านี้เอง หัวใจของชายหนุ่มผู้เหนื่อยหนักมาจากสงครามอันแสนหฤโหดยาวนานก็พลันกระด้างยัง กับแผ่นศิลา สักพักหนึ่งพอหญิงสาวเดินกลับมาจากตลาด เธอก็พบว่าทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เขาไม่เพียงแต่เปลี่ยนไปเป็นคนละคน หากหน้าเธอเข้าก็ไม่ปรายตามองอีกต่อไป เธอไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น

เย็นวันนั้น อาหารที่เธอบรรจงทำอย่างสุดฝีมือเพื่อต้อนรับการกลับมาของเขาจืดสนิท ทั้งคู่เข้านอนแต่หัวค่ำ ต่างนอนลืมตาโพลงอยู่ในความมืด เธอถามตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นขณะที่เธอแวะไปซื้อของ เขาถามว่าเธอยังเป็นผู้หญิงคนที่เขาสุดรักอย่างจับใจคนเดิมอยู่หรือเปล่า ต่างคนต่างถามกันและกันในความมืด ทว่าเป็นการถามที่เงียบงำจนวังเวง เขาเย็นชากับเธอจากวันแรกจนถึงวันที่สาม ไม่มีการถามไถ่ ไม่มีการโอบกอดอันอบอุ่น ไม่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย ไม่มีแม้แต่การปรายตามองกันและกันอย่างเต็มสองตาฉันสามีหนุ่มภรรยาสาว การณ์เป็นไปดังนั้นอยู่จนถึงเย็นวันที่สาม แล้วความอดทนของเธอก็สิ้นสุดลง เธอตัดสินใจลาจากความระทมทุกข์ที่แม่น้ำสายหนึ่ง ทิ้งปมปัญหาทุกอย่างไว้ข้างหลังอย่างไม่ไยดี

เย็นวันนั้นเขารู้ข่าวการจากไปของเธอด้วยน้ำตานองทั้งสองแก้ม เขาไปรับศพเธอมาบำเพ็ญกุศลอย่างเงียบๆในบ้านของตัวเอง มีเพียงเจ้าหนูเท่านั้นที่อยู่เป็นเพื่อนเขาจนดึกดื่น และคืนนี้ความลึกลับทั้งปวงก็ได้รับการคลี่คลาย

ตะเกียงน้ำมันก๊าดที่จุดไว้บนโลงค่อยๆหรี่ลงจวนเจียนจะดับ เขาเติมน้ำมันแล้วจุดใหม่ เปลวไฟโชนแสงวูบวาบ เขาลุกเดินกลับไปกลับมา ขณะนั้นเองเงาของเขาทาบทอไปปรากฏยังฝาเรือน
เจ้าหนูชี้ไปที่เงาพลางตะโกนลั่น "นั่นไง พ่อหนูมาแล้ว พอแม่นั่งพ่อก็นั่ง พอแม่ยืนพ่อก็ยืน คนนั้นแหละพ่อของหนู"

ชายหนุ่มมองตามเจ้าหนู เห็นเงาของตัวเองทาบทออยู่ที่ฝา จึงเข้าใจขึ้นมาในนาทีนั้นเองว่า "พ่อ" ที่เจ้าหนูเอ่ยถึงก็คือ "เงา" ที่เห็นอยู่นี่เอง ปริศนาทุกอย่างกระจ่างแล้ว

เธอ...คงรักเขามากสินะ ถึงขนาดสมมุติให้เงาตัวเองเป็นเขา แล้วบอกเจ้าหนูว่าเงาก็คือตัวเขา คือ "พ่อ"ที่หายไปในสงคราม โอ...ไม่น่าเลย ความจริงนี้เจ็บปวดเกินไป เจ็บเกินกว่าหัวใจของคนธรรมดาจะรับไหว รุ่งขึ้นอีกวัน เขาชดใช้ความผิดพลาดอย่างมหันต์ของตัวเอง ด้วยการให้แม่น้ำเป็นตุลาการผู้พิพากษาชีวิตเขาอีกชีวิตหนึ่ง...เรื่องราวของเ ขาและเธอเป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรักที่เล่าขานกันมาอีกนานนับนาน

วันนั้น หลังจากเจ้าหนูพูดถึง "พ่อ" ของตัวเองให้เขาฟังที่กลางตลาด หากเขาไม่หุนหันพลันแล่น มีสติสักนิดหนึ่ง ถามไถ่จากเธอว่า "พ่อ" คนที่เจ้าหนูพูดถึงคือใคร และหลังจากที่เขาเย็นชา
ปิดปากเงียบสนิท หากเธอจะอาจหาญถามเขากลับไปว่ามันเกิดอะไรขึ้น เธอก็คงไม่ต้องเจ็บจนเกินเยียวยา และเขาเองก็คงไม่ต้องจบชีวิตอย่างน่าอนาถเช่นนั้น

ไม่ใช่เธอไม่รักเขา และไม่ใช่เขาก็ไม่รักเธอ หากทั้งเธอและเขาต่างรัก ต่างภักดีต่อกันอย่างสุดซึ้ง ความรักของคนทั้งสองบริสุทธิ์ งดงาม หมดจด จนกลายเป็นตำนานเล่าขานดังเรื่องราวของวีรบุรุษวีรสตรีผู้พิชิต

ความผิดพลาดหากจะพึงมีบนเส้นทางแห่งรักแท้จนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมของคนทั้งคู่ เกิดจากเส้นบางๆของปราการแห่ง "ทิฐิ" โดยแท้

หากทั้งเธอและเขา ยอมวาง "ทิฐิ" ลง แล้วหันหน้าเข้าหากันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ถามไถ่จากกันและกันอย่างให้เกียรติกันทั้งสองฝ่าย ไหนเลยจะต้องมาจำพรากทั้งที่ยังรักล้นใจเช่นนั้น

รักเอย รักนั้นงดงาม บริสุทธิ์ อ่อนหวาน ไม่ใช่ความผิดของความรักหรอกจะบอกให้ ผิดที่ใจอันมากด้วย "ทิฐิ" ของทั้งคู่นั่นต่างหาก

ปรารถนารักที่ยั่งยืนหมื่นปี อย่าให้มี "ปราการแห่งทิฐิ" มากางกั้นแค่นั้นพอ........

http://docs.google.com/Doc?id=dgsdcg4f_9d7n6vb

Sunday, July 1, 2007

คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง




คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง



เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา 158420 (จริยธรรมของนักบริหาร)







สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ “คำแนะนำความประพฤติสำหรับข้าราชการหัวเมือง ซึ่งมีตำแหน่งในการปกครอง” เมื่อรัตนโกสินทศก ๑๒๑ (๒๔๔๕) โดยทรงกล่าวว่าผู้เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งรับราชการอยู่ตามหัวเมือง ถึงจะมีสติปัญญา และวิชาความรู้เท่าใด ถ้าไม่ประพฤติตนให้อยู่ในอัธยาศัยดีโดยสมควรแก่ตำแหน่งแล้ว มักจะไม่ใคร่ได้ดีในราชการ และบางทีก็กลับไปได้ความเสื่อมเสียสิ้นวาสนาไปได้ บรรดาผู้ที่ทำราชการโดยมุ่งหมายเพื่อที่จะให้ได้ความดีมีชื่อเสียงเกียรติยศในราชการ ต้องเอาใจใส่ในความประพฤติของตนจงมาก .....อ่านต่อ



http://docs.google.com/View?docID=dgsdcg4f_793z6sc&revision=_latest

แปลกจัง (พระพุทธรูปที่วัดป่าดาราภิรมย์)


เห็นภาพพระพุทธรูปองค์ข้างบนใช่ไหม พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารหลวง วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยปกติก็จะไปวัดนี้ปีละหลายๆ ครั้ง ไปไหว้พระ และซื้อของที่มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท พระพุทธรูปองค์นี้ตอนที่เห็นครั้งแรก ท่านยังไม่ได้ปิดทอง ยังเป็นเนื้อสำริด ออกเสียเขียวแก่ๆ พอเห็นครั้งแรกรู้สึกชอบมาก เพราะพระพักตร์ของท่านยิ้ม เหมือนเด็ก ได้คิดไว้ในใจว่าในชาตินี้จะต้องสร้างพระให้สวยแบบนี้ให้ได้ เมื่อไปวัดฯ ครั้งต่อๆ มาก็ได้เห็นว่ามีผู้ปิดทองถวายท่านแล้ว ก็ยังสวยเหมือนเดิม และก็ยังคิดที่อยากจะสร้างพระพุทธรูปให้สวยอย่างนี้เหมือนเดิม
เรื่องแปลกเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (30 มิถุนายน 2550) พี่เล็ก สุเทพ รัตนนุกรม ก่อนกลับบ้านพี่เล็กได้ส่ง SMS ว่า พี่เล็กจะไปแวะที่วัดพระรามเก้า เพื่อซื้อหนังสือธรรมะ พอตอนค่ำมา online เพื่อคุยกันทาง MSN พี่เล็กบอกว่ามีเรื่องเล่า พี่เล็กไปวัดพระรามเก้า และเจอโบรชัวร์ที่ทางวัดป่าดาราภิรมย์ร่วมกับวัดพระรามเก้า ได้สร้างพระพุทธรูปสิบสองปันล้านนาเพื่อนำไปถวายวัดต่างๆ ในลาว พม่า จีน (สิบสองปันนา) จำนวน 60 องค์ พี่เล็กบอกว่าเขามีพระพุทธรูปองค์เล็กให้เช่าบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว ราคา 2,500 บาท พี่เล็กได้สั่งจองสององค์ สำหรับพี่เล็กหนึ่งองค์ ให้ต้อมหนึ่งองค์ แล้วพี่เล็กจะเอาปิดทองใหม่ ให้ต้อม ก็ได้บอกพี่เล็กไปว่าไม่ต้อง เพราะเกรงใจพี่เล็กมากๆ พระพุทธรูปราคาแพง ไม่อยากจะให้พี่เล็กจ่ายเงินโดยไม่จำเป็น พี่เล็กก็บรรยายพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปมาร้อยแปดพันประการ บอกว่าหน้าท่านยิ้มมากๆสังฆาฏิเป็นลายกนกลงยา มีองค์จริงที่วัดป่าดาราภิรมย์ ได้อ่านที่พี่เล็กบรรยาย ก็เลยส่งภาพวัดป่าดาราภิรมย์ไปให้ รวมทั้งภาพพระพุทธรูปหลายๆ องค์ รวมทั้งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย โดยไม่คิดว่าพระที่กำลังสร้าง และที่พี่เล็กจะจองคือพระพุทธรูปองค์นี้ สักครู่เมื่อพี่เล็กตอบมาว่าภาพพระพุทธรูปองค์ที่สามนั่นแหละ คือพระเจ้าสิบสองปันล้านนา และที่พี่เล็กจะจอง ก็เลยตกใจ เพราะว่าเป็นพระที่คิดว่าอนาคตหากมีกำลังก็จะสร้าง และจะสร้างองค์เล็กไว้บูชา เพราะชอบท่านมาก และไม่นึกว่าในวันนี้จะมีโอกาสได้ท่านมาบูชา
เรื่องที่คิดว่าแปลกก็คือ ถ้าพี่เล็กไม่ไปวัดพระรามเก้าเมื่อวาน พี่เล็กก็จะไม่เห็นโบรชัวร์เรื่องการสร้างพระ ถ้าพี่เล็กไม่เห็นก็จะไม่เกิดการสั่งจอง หรือกมาพูดคุยกันอย่างนี้ เราก็จะไม่มีโอกาสที่จะได้ท่านมาบูชา หรือหากพี่เล็กเห็น แล้วพี่เล็กไม่ชอบใจ พี่เล็กก็คงไม่ใส่ใจที่จะสั่งจอง เราก็หมดโอกาสที่จะได้ท่านมาบูชาเหมือนกัน หรือหากว่าพี่เล็กสั่งจององค์เดียว แล้วไม่ได้มาเล่าให้ฟัง เราก็จะไม่มีโอกาสได้ท่านมาบูชาเหมือนกัน
ก็เลยคิดว่าเป็ฯเรื่องแปลกและน่าอัศจรรย์ใจ ที่อะไรหลายๆ อย่างเหมือนจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่จะเรียกว่าบังเอิญไปเสียทั้งหมดคงไม่ได้ เอาเป็ฯเว่าเป็ฯเรื่องที่หาคำอธิบายอย่างชัดเจนได้ยาก
ขอน้อมบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ด้วยเศียรเกล้า