แบบอย่างทั้ง 11 ประการ ของอาจารย์ “ปรีดี พนมยงค์”
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤษภาคม 2547 14:07 น
แม้จะผ่านการถูกเคลือบแคลงสงสัยในหลายๆ เรื่อง แต่ถึงที่สุดแล้ว อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และรัฐบุรุษอาวุโส ก็รับได้รับการยกย่องจากอนุชนรุ่นหลัง ดังคำกล่าวที่ว่า “ทองแท้ไม่แพ้ไฟ” ถึงคุณงามความดีที่ท่านปฏิบัติตลอดชีวิตสุโข สุวรรณศิริ อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศเม็กซิโกและประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เป็นศิษย์เก่า ธ.บ. น.ม. ต.ม.ธ.ก. รุ่น 6 เขียนถึงแบบอย่างที่ควรยึดถือของอาจารย์ปรีดีไว้ถึง 11 ประการ คือ
1. แบบอย่างของบุตรที่ดี พ่อแม่ทุกคนที่มีลูก ความรู้สึกที่เป็นยอดปรารถนาของทุกคนก็คือ ต้องการเห็นลูกเป็นคนดีและเติบโตเป็นทรัพย์สินของสังคม อาจารย์ปรีดี ถึงแม้จะเป็นบุตรของชาวบ้านผู้หนึ่ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าท่านเป็นบุตรที่ดีเลิศ คือ ประพฤติตัวดี เรียนดี และกระทำตนเป็นแบบอย่างในเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว กลับปฏิบัติตนโดยเห็นแก่ส่วนรวม บิดามารดาของท่านย่อมมีความภาคภูมิใจ และสังคมก็น่าจะนำท่านมาเป็นแบบอย่างของบุตรที่ดี
2. แบบอย่างของนักเรียนที่ดี ตลอดเวลาที่ศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา และได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้ทุ่มเทให้แก่การเรียนจนผลการเรียนออกมาดีเลิศ ขณะเดียวกันเมื่อมีเวลาว่างก็ทำงานให้สังคม แม้จะเป็นงานระดับชาวบ้าน เช่น เคยช่วยบิดาทำนา ผมคิดว่านักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันน่าจะดูท่านเป็นแบบอย่าง
3. แบบอย่างของหัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นที่ยอมรับกันว่า อาจารย์ปรีดีเป็นสามีที่น่าจะเอาเป็นแบบอย่างในสังคม เพราะได้ทุ่มเทความรักให้แก่ภรรยา (ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์) แต่เพียงผู้เดียว และเมื่อมีบุตรธิดา ก็ดูแลให้การศึกษาตามที่เขาถนัด แม้ในยามที่ท่านอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ท่านก็ยังปฏิบัติหน้าที่ของสามีที่ดีและพ่อที่ดีอย่างเต็มภาคภูมิ และไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านสอนบุตรธิดาของท่านมิให้เห็นแก่ตัว จะประกอบอาชีพหรือปฏิบัติตัวอย่างไรก็ให้ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หัวหน้าครอบครัวโดยเฉพาะท่านที่มีอำนาจวาสนาในสังคมปัจจุบัน น่าจะยึดเป็นแบบอย่าง
4. แบบอย่างของข้าราชการที่ดี เมื่อท่านเข้ารับราชการ ท่านได้ทำหน้าที่อย่างดีเลิศ โดยถือหลักซื่อสัตย์สุจริต และเห็นแก่ประโยชน์ของสุขของประชาชนเป็นหลัก ท่านเคยกล่าวว่า ควรจะเปลี่ยนแนวคิดที่ข้าราชการเป็นนายราษฎร เป็นให้ราษฎรเป็นนายของข้าราชการ ยิ่งกว่านั้น ท่านเป็นข้าราชการที่มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ไม่ใช่รอฟังแค่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำ การประจบประแจงเจ้านายท่านก็ไม่เคยทำ และการคอรัปชั่นหรือการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่ก็ไม่เคยปรากฏ ข้าราชการทั้งหลายควรใช้เป็นแบบอย่าง เพราะถ้าเรามีข้าราชการที่ดีอย่างอาจารย์ปรีดี ประชาชนก็จะได้รับอานิสงส์ในการดำรงชีพ โดยมีความสุขตามสมควร ไม่ต้องหวาดผวาต่อการใช้อำนาจข่มขู่ หรือการเรียกร้องอามิสต่างๆ เมื่อต้องติดต่อราชการ
5. แบบอย่างของอาจารย์ที่ดี เมื่อท่านทำหน้าที่สอนหนังสือ เป็นที่ยอมรับกันว่า ท่านเป็นอาจารย์ที่ดี สอนศิษย์ไม่เฉพาะในด้านวิชาการ แต่ได้สอนธรรมะให้ยึดเหนี่ยว โดยเฉพาะในด้านความถูกต้องและความเป็นธรรมต่อสังคม เพื่อศิษย์จะได้นำไปปฏิบัติในหน้าที่การงานต่อไป บรรดาครูบาอาจารย์ควรยึดถือเป็นแบบฉบับที่ดีและใช้เป็นแบบอย่าง
6. แบบอย่างของนักกฎหมายที่ดี โดยที่ท่านมีรากฐานการศึกษามาทางด้านนิติศาสตร์ ฉะนั้น เมื่อท่านทำหน้าที่ในฐานะนักกฎหมาย ท่านได้ทำตนเป็นแบบอย่างของนักกฎหมายที่ดี คือ ไม่ใช้วิชากฎหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่ให้คำนึงถึงความเป็นธรรมแก่คนในสังคม โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ฉะนั้น การใช้กฎหมายไม่ควรดูแต่ลายลักษณ์อักษรตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น แต่ต้องดูความเป็นธรรมเป็นใหญ่ นักกฎหมายที่ (ใฝ่) ดีจึงน่าจะดูท่านเป็นแบบอย่าง
7. แบบอย่างของนักเศรษฐศาสตร์และนักการคลังที่ดี เรื่องนี้เกือบไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่า ตั้งแต่ท่านทำงานการเมืองและดูแลงานด้านเศรษฐกิจ ท่านได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ท่านเป็นผู้มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์และความรอบรู้หลักแหลม และมีมุมมองในทางกว้าง คือมองอย่างเป็นระบบ จะเห็นได้ว่าในสมัยที่ท่านรับผิดชอบงานด้านนี้ ฐานะการคลังของประเทศนับว่าอยู่ในขั้นดีเลิศ และท่านได้กระทำการรักษาผลประโยชน์ของประเทศอย่างมหาศาล ขอยกตัวอย่างให้เห็นสักสองกรณี คือ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการพิมพ์เงินบาทใช้ระหว่างสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นยินยอม แต่ท่านได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นนำทองคำมาให้เป็นทุนสำรอง โดยที่ท่านคาดการณ์สงครามได้ถูกต้องว่า ญี่ปุ่นคงแพ้สงครามแน่ และทองคำนี้อาจถูกยึดไปในฐานะทรัพย์สินของอักษะ ท่านจึงให้ญี่ปุ่นผูกหูทองคำดังกล่าวว่าเป็นของประเทศไทย ทำให้ญี่ปุ่นเมื่อแพ้สงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรจำเป็นต้องคืนทองคำนี้ให้แก่ประเทศไทยอีกเรื่องหนึ่งคือ ในยุคที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ท่านวิเคราะห์การเศรษฐกิจและการคลังของโลกได้ถูกต้อง ทำให้คาดการณ์ว่าอังกฤษต้องลดค่าเงินปอนด์แน่ๆ โดยที่เงินทุนสำรองของไทยส่วนใหญ่เป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิง ท่านจึงตัดสินใจในนามรัฐบาล สั่งโอนเงินทุนสำรองจากเงินปอนด์จำนวนหนึ่งไปซื้อทองคำหนักประมาณ 1 ล้านออนซ์ และได้นำทองคำนั้นมาเก็บไว้ในห้องนิรภัยของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นทุนสำรองเงินบาทแทนภายในไม่กี่วันก่อนอังกฤษประกาศลดค่าเงินปอนด์ ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์มหาศาลจากการเพิ่มมูลค่าของราคาทองคำ โดยที่ตัวท่านไม่ได้ใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์ในทางส่วนตัวเลย
8. แบบอย่างของนักการทูตและการต่างประเทศที่ดี ในระหว่างเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านได้แสดงความกล้าหาญเสนอแก้ไขสนธิสัญญาที่เราเสียเปรียบแก่มหาอำนาจและประเทศต่างๆ ถึง 12 ประเทศ นับเป็นการกระทำที่เป็นประวัติศาสตร์ของการต่างประเทศของไทย ที่มหาอำนาจและประเทศใหญ่ๆ ยอมตกลงกับเราเพื่อให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในเวลาต่อมา ท่านยังมีความคิดว่า ประเทศเล็กๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเดียวกัน น่าจะรวมกลุ่มกันเพื่อมีอำนาจในการต่อรองและรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ท่านจึงได้คิดจัดตั้ง “สันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้น แต่จังหวะไม่ดี พอท่านเสนอความคิดนี้ได้เพียง 2 เดือน ก็เกิดรัฐประหาร 2490 เป็นผลให้ท่านต้องลี้ภัยในต่างประเทศ แต่จากความคิดของท่านได้เป็นที่มาขององค์การส่วนภูมิภาค เริ่มจากองการอาสา อาเซียน เอเปค ฯลฯ ในเวลาต่อมา
9. แบบอย่างของผู้นำที่ดี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ท่านได้สร้างความเป็นผู้นำด้วยการก่อตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และถึงแม้ท่านไม่ได้เป็นทหาร แต่ได้แสดงความสามารถบังคับบัญชาการสู้รบต่อผู้ครอบครอง จนทำให้สัมพันธมิตรยอมรับนับถือขบวนการเสรีไทย เป็นผลให้ประเทศไทยรอดพ้นจากสภาพการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม นับเป็นผู้นำที่กู้ชาติคนสำคัญของไทย ท่านจึงเป็นแบบอย่างของผู้นำที่ดี
10. แบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี ถึงแม้ท่านจะไม่มีโอกาสบวชพระ แต่ท่านได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยตนเอง และสนทนาธรรมกับภิกษุที่พร้อมด้วยปฏิปทา โดยได้นิมนต์ท่านพุทธทาสไปสนทนาธรรมกับท่านถึง 2 วัน 1 คืน ท่านศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทำให้ท่านเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักไตรลักษณ์ ซึ่งท่านได้นำไปปรับใช้กับชีวิตจริงของท่านเอง และยังได้เขียนเป็นหนังสือที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ “อนิจจังแห่งสังคม” ในเรื่องการใช้ปัญญา ท่านได้กล่าวให้โอวาทแก่ธรรมศาสตร์บัณฑิตรุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. 2479 ว่า “ขอให้ใช้สติประกอบปัญญา นำความรู้ที่เป็นสัจจะซึ่งศึกษาเล่าเรียนมานั้นเป็นหลักนำการปฏิบัติ เพื่อรับใช้ชาติและราษฎรให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น”
11. แบบอย่างของนักการเมืองที่ดี นับตั้งแต่ท่านก้าวสู่แวดวงการเมือง สิ่งที่อยู่ในสมองของท่านก็คือ ทำอย่างไรคนยากจนและคนด้อยโอกาสจะได้ลืมตาอ้าปาก และข้อสำคัญก็คือ ท่านสละประโยชน์ส่วนตัวทิ้งไปอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ท่านจะรับหน้าที่สำคัญทางการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นมันสมองของคณะราษฎร์ และมีตำแหน่งสำคัญจนเป็นถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งด้วยมันสมองที่เป็นอัจฉริยะของท่าน ถ้าท่านใช้อำนาจหน้าที่หาผลประโยชน์ ท่านย่อมที่จะมั่งคั่งร่ำรวยได้อย่างง่ายดาย แต่ในความเป็นจริง ตั้งแต่ท่านเล่นการเมือง ท่านและครอบครัวกลับจนลงๆนี่คือแบบอย่างทั้งหมดที่ทุกคนควรศึกษาและยึดถือเป็นประทีปส่องทาง และเป็นคุณธรรมส่องใจ!!
Source:http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=2000000058261
Friday, September 19, 2008
สนทนากับเจ้าอาวาส
สนทนากับเจ้าอาวาส
ส. ศิวรักษ์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ข้าพเจ้าไปอุทัยธานี (อุทัยธานีเป็นคำบาลี แปลว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณ) ซึ่งเป็นจังหวัดหัวเมืองในภาคกลางของประเทศสยาม ห่างจากกรุงเทพ 300 กิโลเมตร เมืองนี้ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนัก อันที่จริงแล้ว การเดินทางไปที่นั่นก็ ลำบากมากพอดู ทางหลวงและทางรถไฟสายที่ใกล้ที่สุด อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตร ต้องเข้าไปตามถนนลูกรังแล้วต่อเรือข้ามฟาก จึงจะเข้าตัวเมืองได้ เมืองนี้อยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง อันเป็นสาขาเล็ก ๆ ของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี การติดต่อกับกรุงเทพฯ ยังมีทางเดี่ยวคือ ทางเรือกลไฟ ทุกวันนี้อุทัยธานียังคงเป็นเมืองสงบ คนส่วนมากเป็นชาวนา อาศัยอยู่ในเรือนแพ โทรทัศน์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่วิทยุนั้นกำลังรุกเข้าไปบ่อนทำลาย ความสงบสุขอยู่โดยทั่วแล้ว
แม้อุทัยเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่ง แต่ก็ไม่มีประวัติศาสตร์จารึกอะไรไว้เป็น พิเศษพิศดาร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เมืองนี้เป็นที่กำเนิดของบุคคลมีชื่อสองคน ซึ่งเทียบได้กับอัลซิเนียดิส และโสกราติสของกรุงเอเธนส์โบราณเลยทีเดียว โดยคนแรกนั้นเป็นที่เกลียดชังของชาวเมืองโดยทั่วไป แต่ท่านหลังนั้นเป็นพระภิกษุใน พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพสักการะของคนโดยทั่วหน้า พระภิกษุรูปนี้ แท้จริงมีเชื้อสายจีน ได้เลื่อนสมณศักดิ์จนถึงขั้นสมเด็จพระวันรัต ซึ่งเป็นที่สองรองจากประมุขของคณะสงฆ์ คือสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกเท่านั้น ถ้าว่ากันตามพระสุพรรณบัตรแล้ว พระภิกษุผู้ได้รับนามนี้ จะเป็นผู้ดูแลพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีทั้งปวง เจ้าคุณสมเด็จองค์นี้เป็น เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (แปลว่าอัฏฐิ อันยิ่งใหญ่) อันเป็นวัดใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในกรุงเทพฯ พี่ชายของท่านก็เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง โดยเป็นเจ้าคณะจังหวัดนี้ด้วย พระภิกษุสองพี่น้องนี้ ได้สร้างคุณูปการทางด้านพระศาสนาและการศึกษา ให้จังหวัดนี้เป็นอเนกประการ โดยที่เจ้าอาวาสวัดหัวเมืองผู้พี่เป็นพระที่มีความประพฤติเที่ยงตรงและ รักษา วินัยเคร่งครัด ท่านจึงสามารถชักจูงให้กุลบุตรเข้าอุปสมบทและอุทิศตัวอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาได้สำเร็จ ถ้าหากศิษย์ของท่านรูปใดแสดงความแน่วแน่ในทางธรรมแล้ว ท่านจะส่งไปศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ภายใต้กา รควบคุมดูแลของเจ้าคุณสมเด็จน้องชายท่าน วัดมหาธาตุในเวลาั้นั้น จึงเป็นที่พำนักอาศัยของพระชาวจังหวัด อุทัยเป็นจำนวนมาก
เมื่อข้าพเจ้าแรกไปจังหวัดอุทัยธานี ได้พบชายชราคนหนึ่ง ประวัติของคุณลุงคนนี้ ก็เหมือน กับคนในปูนเดียวกันในเวลานั้นคือเข้าบวชเรียนในสำนักของท่านเจ้าคณะจังหวัดผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยปรนนิ- บัตร รับใช้ท่านที่วัดพิชัย (บาลี : วิชย วัดแห่งความมีชัย) เป็นเวลา 1 ปี และต่อมา ก็ถูกส่งตัวเข้า วัดมหาธาตุในกรุงเทพฯ คุณลุงบวชอยู่วัดนี้ได้ 5 พรรษา จึงสึกออกมา ข้าพเจ้าลองถามดูว่า รู้จักสมเด็จ พระวันรัตองค์ก่อนดีไหม คุณลุงตอบว่า
“รู้จักซิ เธอก็รู้ใช่ไหมว่าเจ้าคุณสมเด็จท่านเป็นชาวเมืองนี้ เรายังรู้สึกเคารพเทิดทูน ในพระเดชพระคุณท่านมาก เมื่อฉันๆไปกรุงเทพคราวนั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าคุณสมเด็จ ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส อธิบดีองค์ก่อนท่านยังคงบริหารควบคุม กิจการภาย ในวัดอยู่มาก แม้ว่าสมเด็จเจ้าอาวาสองค์นั้น ท่านมีอายุล่วงเข้าแปดสิบแล้ว”
ข้าพเจ้าจึงถามไปว่า “คุณลุงรู้จักเจ้าอาวาสองค์นี้ไหม”
ท่านตอบว่า “ไม่รู้จักเท่าไหร่หรอก ก็ท่านไม่ใช่เด็กไปจากที่นี่ ท่านมาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระวันรัตเหมือนกันนะ เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุองค์ที่ 11 เดิมท่านชื่อ ‘ ฑิต ซึ่งย่อมากจาก คำบาลีว่า บัณฑิต แล้วท่านเป็นพระที่ฉลาดมาก ท่านมีฉายาว่า อุทาโย แต่ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับ เมืองนี้เลย ความจริงท่านเกิดที่จังหวัดอยุธยา กรุงเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ ล่องน้ำลงไปอีก 150 กม. อย่างไรก็ตาม ฉันยังจำเรื่องราวที่คุยกับท่านได้ครั้งหนึ่ง”
“คุยกันเรื่องอะไรครับ ช่วยเล่าให้ผมฟังหน่อย”
“ความจริงแล้ว มีคนอื่นไหว้วานให้ฉันไปถามท่านอีกที เดี๋ยวนี้ฉันจำหมอนั่น ไม่ได้แล้ว ฉันรวบรวมความกล้าแล้วเข้าไปหาท่านเจ้าอาวาสผู้เฒ่า คุณก็รู้แล้วว่า พระชั้นผู้น้อย เกรงกลัว พระชั้นผู้ใหญ่ขนาดไหน โดยเฉพาะพระชั้นผู้ใหญ่ผู้คงแก่เรียน เคร่งครัดและเที่ยงธรรม ฉันดีใจว่าฉัน กล้าพอที่เข้าหาท่าน และซักถามท่านตัวต่อตัว ทันที่ที่เข้าไปในกุฏิท่าน ฉันคุกเข่าลง แล้วกราบงาม สามทีตามธรรมเนียม พอนั่งพับเพียบเรียบร้อย ก็พนมมือเรียนถามท่านว่า “ใต้เท้าครับ พวกเกล้ากระผม พระผู้เยาว์รู้สึกแปลกใจว่า ทั้งที่ใต้เท้าก็ชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังสามารถบริหาร กิจการภายในวัด และคณะสงฆ์ได้ โดยที่ยังมีสติทรงจำดีไม่เลอะเลือน และยังสามารถรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวได้ดี พวกเกล้ากระผมพากันประหลาดใจว่า ทำไมใต้เท้ายังมีสติ สัมปชัญญะบริบูรณ์ และเท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกภายนอก พวกเกล้ากระผมบางคนใคร่จะรู้จริง ๆว่า ใต้เท้ามีหลักการ พิเศษอะไรสำหรับเป็นเครื่องดำเนินชีวิต”
“ท่านยิ้ม แล้วถามถึงชื่อคนที่ฝากถาม ฉันคงกราบเรียนบอกชื่อเจ้าของคำถาม กับท่าน แต่ตอนนี้ฉันจำไม่ได้แล้วว่าเป็นใคร ท่านเจ้าอาวาสผงกศีรษะรับ แต่ไม่ตอบคำถามของฉันตรงกันข้าม ท่านกลับเปรยขึ้นว่า “หากเยอรมันชนะสงคราม ฉันไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแก่พระศาสนา เวลานี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากำลังประชวรหนักอยู่ด้วย หากทรงเป็นอะไรไปในตอนนี้ การพระศาสนา เห็นทีจะมืดมน แต่ไหนแต่ไรมา เมื่อพระตีระฆังบอกเวลาสวดมนต์ทำวัดเช้าตอนตีสี่ พวกสุนัขมักพากัน เห่าหอนตามเสียงกลอง แต่ฉันเพิ่งสังเกตมาเมื่อไม่นานว่า เวลานี้พวกสุนัข ไม่ได้เห่าหอนกันเหมือนก่อน นี่จะเป็นลางบอกเหตุร้ายหรือดี ฉันไม่รู้ได้”
“นี่แสดงว่าจิตใจของท่านไม่สงบเลย กำลังคิดฟุ้งซ่าน และฉันเข้าใจว่าท่านต้องลืม เรื่องที่ฉันถามเมื่อครู่นี้หมดสิ้นแล้ว แต่แล้วท่านก็อยู่นิ่งสักครู่หนึ่งก่อนจะเอ่ยขึ้นทันใดว่า “เอาล่ะ กลับมาที่คำถามซึ่งเธอถามเมื่อครู่นี้ เพื่อนของเธอเขาต้องการรู้ว่า ฉันมีหลักอันใดเป็นเครื่องมือ ค้ำจุนในการประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือหาไม่ ฉันของตอบว่า “มี” ว่ากันตามจริงแล้วฉันถือ หลักสำคัญอยู่ 3 สูตร ฉันท่องขึ้นใจอยู่เสมอ โดยท่องเดินหน้าถอยหลังได้โดยตลอด ท่องอยู่เช่นนี้ วันแล้ววันเล่า ทั้งกลางวันกลางคืน และฉันพบว่าการทำเช่นนี้มีประโยชน์แก่ชีวิตฉันมาก”
“สูตรข้อแรก ฉันรู้ตำราไวยากรณ์มูลกัจจายน์เป็นอย่างดี ฉันท่องตำรานี้ทุกวัน เพื่อช่วยให้ความรู้ทางภาษามคธของฉันยังคงคล่องแคล่วอยู่เสมอ เดี๋ยวนี้ตำราเล่มนี้อาจจะเก่า ล้าสมัยแล้ว แต่ฉันก็อาศัยคัมภีร์นี้แหละเป็นแม่บทแห่งมคธภาษา เรียนด้วยการท่องจำ และเดี๋ยวนี้ฉันก็ยังจำมันได้ดีอยู่ ตำรานี้มีอานิสงส์กับฉันมากทีเดียว แม้ว่าพวกพระเปรียญรุ่นหลังจะ หันไปเรียนบาลีไวยากรณ์แผนใหม่ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงพระนิพนธ์ขึ้นแล้วก็ตาม แตพวกนี้ยังกลับมาปรึกษาฉันบ่อย ๆ ให้ช่วยแก้ปัญหา ทางไวยากรณ์ให้พวกเขา ในฐานะที่ฉัน แตกฉานตำราเก่าเป็นอย่างดีนี่เอง ฉันจึงสามารถให้คำตอบ ที่ถูกต้องแม่นยำแก่พระรุ่นใหม่ได้ หาไม่แล้ว พวกพระรุ่นหนุ่ม ๆ พวกนี้จะมีอคติต่อฉันด้วย ด้วยเจ้าใจว่าเจ้าคุณสมเด็จนี่แก่แล้ว ขี้หลงขี้ลืม เมื่อเกิดอคติเช่นนี้ ตัวพวกเขานั่นเองแหละ จะพากันเสื่อมถอยในวิชา เพราะเมื่อพระผู้น้อยคิดร้ายต่อบุคคลอื่น โดยเฉพาะต่อพระเถระผู้ใหญ่แล้วไซร้ ก็เท่ากับเขาได้ย่างก้าว สู่ทางแห่งหายนะ ซึ่งจะนำไปสู่นรกภูมิ ทางที่ถูกที่ควรพระต้องแผ่เมตตา กรุณาแก่สรรพสัตว์อยู่เสมอ ดังนั้นเพื่่อเกื้อกูลแก่ลูกวัด และเพื่อรักษาพื้นความรู้มคธภาษา ฉันจึงยึดสูตร นี้ไว้ในใจเสมอ”
“สูตรข้อสอง ฉันรู้หลักพระปาฏิโมกข์ทั้งหมดอย่างแม่นยำขึ้นใจ ดังนั้น ในวันอุโบสถเมื่อพระสวดพระวินัย ฉันจึงรู้เลยว่าพระรูปนั้นสวดผิดหรือไม่ การรู้บัญญัติข้อประพฤติ ปฏิบัติของพระภิกษุ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้อยู่ในหมู่สหธรรมิก เดิมฉันเป็นฆราวาส ยกฐานะ ตัวเองขึ้นมาเป็นสามเณร จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุครบองค์ ต่อมาก็เลื่อนสมณศักดิ์ จากเจ้าอาวาส ชั้นผู้น้อย จนถึงชั้นสมเด็จพระวันรัตในสังฆปริมณฑลนี้ ฉันเป็นรองก็แต่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าเท่านั้น ฉันไม่สามารถก้าวมาถึงขั้นนี้ได้เลย หากฉันไม่ปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ ของสงฆ์ถ้าฉันละเมิดศีล ข้อใหญ่แล้วไซร้ ฉันก็จะขาดจากความเป็นพระทันที แต่ถ้าฉันละเมิดศีลข้อเล็ก ๆ น้อย ๆ ฉันก็จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ด่างพร้อยอยู่ดี พระภิกษุจะต้องดำเนินชีวิต ที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากข้อติเตียนใด ๆ ทั้งสิ้น การสวดพระปาฏิโมกข์นี้ช่วยให้ฉันตรวจสอบตัวเอง ได้ตลอดเวลา หากฉันพบว่าฉันได้ล่วงสิกขาวินัย ข้อหนึ่งข้อใด ทั้งกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ฉันจะปลงอาบัตินั้นเสีย โดยประกาศอาบัติให้ทราบทั่วกันใน หมู่สงฆ์ ขอยกโทษเสียจากสงฆ์แล้ว ฉันก็จะกลับเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด และมีค่าควรอยู่ในหมู่ สหธรรมิกสืบไป”
“สูตรข้อสาม ฉันจะสวดมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นประจำทุกวัน อันนับเป็นหัวใจสำหรับ การเจริญสติ ซึ่งมีอานิสงส์แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ การสวดสติปัฏฐานสูตร อาจช่วยให้บุคคลละ ความยึดมั่นถือมั่นในโลก มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่ง และไม่หลงมัวเมาในสิ่งสมมติ สูตรนี้สามารถยัง บุคคลให้บรรลุพระสัทธรรม คือ มรรคผลนิพพานได้ในที่สุด”
“สูตรสามประการนี้แหละที่ฉันยึดถืออยู่ในใจ ฉันจะสวดท่องสูตรทั้งสามติดต่อกัน ไปเรื่องทีละสูตร โดยสวดเดินหน้าถอยหลังด้วย สวดอยู่เช่นนี้ ทั้งกลางวันกลางคืน ฉันมักสวด เวลาอยู่คนเดียว เมื่อมีใครเข้ามาพบฉัน อาจจะเป็นอาคันตุกะหรือสามเณร ที่ผลัดเวรกันขึ้นมา อ่านหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ให้ฉันฟัง ฉันก็จะหยุดสวดชั่วคราว เมื่อว่างจากคนแล้ว ฉันก็จะ กลับสวดต่อจากที่ฉันค้างไว้ ฉันปฏิบัติตามหลักนี้ ตั้งแต่สมัยเป็นพระนวกะ หลักนี้มีอานิสงส์ช่วยให้ฉันเกิด ความสบาย สงบและมีปิติสุข ภายในเพศบรรพชิตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้”
“เอาล่ะนี่ก็สมควรแก่เวลาแล้ว เธอจงกลับไปบอกหลักปฏิบัติสามสูตรในชีวิตฉัน แก่สหธรรมิกของเธอผู้นั้นเถิด”
พิมพ์ครั้งแรก Visakha Puja 1965. (2507)
พิมพ์ซ้ำใน. ส. ศิวรักษ์ .(2527). สยามยามวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง
ส. ศิวรักษ์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ข้าพเจ้าไปอุทัยธานี (อุทัยธานีเป็นคำบาลี แปลว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณ) ซึ่งเป็นจังหวัดหัวเมืองในภาคกลางของประเทศสยาม ห่างจากกรุงเทพ 300 กิโลเมตร เมืองนี้ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนัก อันที่จริงแล้ว การเดินทางไปที่นั่นก็ ลำบากมากพอดู ทางหลวงและทางรถไฟสายที่ใกล้ที่สุด อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตร ต้องเข้าไปตามถนนลูกรังแล้วต่อเรือข้ามฟาก จึงจะเข้าตัวเมืองได้ เมืองนี้อยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง อันเป็นสาขาเล็ก ๆ ของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี การติดต่อกับกรุงเทพฯ ยังมีทางเดี่ยวคือ ทางเรือกลไฟ ทุกวันนี้อุทัยธานียังคงเป็นเมืองสงบ คนส่วนมากเป็นชาวนา อาศัยอยู่ในเรือนแพ โทรทัศน์ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่วิทยุนั้นกำลังรุกเข้าไปบ่อนทำลาย ความสงบสุขอยู่โดยทั่วแล้ว
แม้อุทัยเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่ง แต่ก็ไม่มีประวัติศาสตร์จารึกอะไรไว้เป็น พิเศษพิศดาร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เมืองนี้เป็นที่กำเนิดของบุคคลมีชื่อสองคน ซึ่งเทียบได้กับอัลซิเนียดิส และโสกราติสของกรุงเอเธนส์โบราณเลยทีเดียว โดยคนแรกนั้นเป็นที่เกลียดชังของชาวเมืองโดยทั่วไป แต่ท่านหลังนั้นเป็นพระภิกษุใน พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพสักการะของคนโดยทั่วหน้า พระภิกษุรูปนี้ แท้จริงมีเชื้อสายจีน ได้เลื่อนสมณศักดิ์จนถึงขั้นสมเด็จพระวันรัต ซึ่งเป็นที่สองรองจากประมุขของคณะสงฆ์ คือสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกเท่านั้น ถ้าว่ากันตามพระสุพรรณบัตรแล้ว พระภิกษุผู้ได้รับนามนี้ จะเป็นผู้ดูแลพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีทั้งปวง เจ้าคุณสมเด็จองค์นี้เป็น เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (แปลว่าอัฏฐิ อันยิ่งใหญ่) อันเป็นวัดใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในกรุงเทพฯ พี่ชายของท่านก็เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง โดยเป็นเจ้าคณะจังหวัดนี้ด้วย พระภิกษุสองพี่น้องนี้ ได้สร้างคุณูปการทางด้านพระศาสนาและการศึกษา ให้จังหวัดนี้เป็นอเนกประการ โดยที่เจ้าอาวาสวัดหัวเมืองผู้พี่เป็นพระที่มีความประพฤติเที่ยงตรงและ รักษา วินัยเคร่งครัด ท่านจึงสามารถชักจูงให้กุลบุตรเข้าอุปสมบทและอุทิศตัวอยู่ในพระบวรพุทธศาสนาได้สำเร็จ ถ้าหากศิษย์ของท่านรูปใดแสดงความแน่วแน่ในทางธรรมแล้ว ท่านจะส่งไปศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ภายใต้กา รควบคุมดูแลของเจ้าคุณสมเด็จน้องชายท่าน วัดมหาธาตุในเวลาั้นั้น จึงเป็นที่พำนักอาศัยของพระชาวจังหวัด อุทัยเป็นจำนวนมาก
เมื่อข้าพเจ้าแรกไปจังหวัดอุทัยธานี ได้พบชายชราคนหนึ่ง ประวัติของคุณลุงคนนี้ ก็เหมือน กับคนในปูนเดียวกันในเวลานั้นคือเข้าบวชเรียนในสำนักของท่านเจ้าคณะจังหวัดผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยปรนนิ- บัตร รับใช้ท่านที่วัดพิชัย (บาลี : วิชย วัดแห่งความมีชัย) เป็นเวลา 1 ปี และต่อมา ก็ถูกส่งตัวเข้า วัดมหาธาตุในกรุงเทพฯ คุณลุงบวชอยู่วัดนี้ได้ 5 พรรษา จึงสึกออกมา ข้าพเจ้าลองถามดูว่า รู้จักสมเด็จ พระวันรัตองค์ก่อนดีไหม คุณลุงตอบว่า
“รู้จักซิ เธอก็รู้ใช่ไหมว่าเจ้าคุณสมเด็จท่านเป็นชาวเมืองนี้ เรายังรู้สึกเคารพเทิดทูน ในพระเดชพระคุณท่านมาก เมื่อฉันๆไปกรุงเทพคราวนั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าคุณสมเด็จ ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส อธิบดีองค์ก่อนท่านยังคงบริหารควบคุม กิจการภาย ในวัดอยู่มาก แม้ว่าสมเด็จเจ้าอาวาสองค์นั้น ท่านมีอายุล่วงเข้าแปดสิบแล้ว”
ข้าพเจ้าจึงถามไปว่า “คุณลุงรู้จักเจ้าอาวาสองค์นี้ไหม”
ท่านตอบว่า “ไม่รู้จักเท่าไหร่หรอก ก็ท่านไม่ใช่เด็กไปจากที่นี่ ท่านมาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระวันรัตเหมือนกันนะ เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุองค์ที่ 11 เดิมท่านชื่อ ‘ ฑิต ซึ่งย่อมากจาก คำบาลีว่า บัณฑิต แล้วท่านเป็นพระที่ฉลาดมาก ท่านมีฉายาว่า อุทาโย แต่ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับ เมืองนี้เลย ความจริงท่านเกิดที่จังหวัดอยุธยา กรุงเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ ล่องน้ำลงไปอีก 150 กม. อย่างไรก็ตาม ฉันยังจำเรื่องราวที่คุยกับท่านได้ครั้งหนึ่ง”
“คุยกันเรื่องอะไรครับ ช่วยเล่าให้ผมฟังหน่อย”
“ความจริงแล้ว มีคนอื่นไหว้วานให้ฉันไปถามท่านอีกที เดี๋ยวนี้ฉันจำหมอนั่น ไม่ได้แล้ว ฉันรวบรวมความกล้าแล้วเข้าไปหาท่านเจ้าอาวาสผู้เฒ่า คุณก็รู้แล้วว่า พระชั้นผู้น้อย เกรงกลัว พระชั้นผู้ใหญ่ขนาดไหน โดยเฉพาะพระชั้นผู้ใหญ่ผู้คงแก่เรียน เคร่งครัดและเที่ยงธรรม ฉันดีใจว่าฉัน กล้าพอที่เข้าหาท่าน และซักถามท่านตัวต่อตัว ทันที่ที่เข้าไปในกุฏิท่าน ฉันคุกเข่าลง แล้วกราบงาม สามทีตามธรรมเนียม พอนั่งพับเพียบเรียบร้อย ก็พนมมือเรียนถามท่านว่า “ใต้เท้าครับ พวกเกล้ากระผม พระผู้เยาว์รู้สึกแปลกใจว่า ทั้งที่ใต้เท้าก็ชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังสามารถบริหาร กิจการภายในวัด และคณะสงฆ์ได้ โดยที่ยังมีสติทรงจำดีไม่เลอะเลือน และยังสามารถรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวได้ดี พวกเกล้ากระผมพากันประหลาดใจว่า ทำไมใต้เท้ายังมีสติ สัมปชัญญะบริบูรณ์ และเท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกภายนอก พวกเกล้ากระผมบางคนใคร่จะรู้จริง ๆว่า ใต้เท้ามีหลักการ พิเศษอะไรสำหรับเป็นเครื่องดำเนินชีวิต”
“ท่านยิ้ม แล้วถามถึงชื่อคนที่ฝากถาม ฉันคงกราบเรียนบอกชื่อเจ้าของคำถาม กับท่าน แต่ตอนนี้ฉันจำไม่ได้แล้วว่าเป็นใคร ท่านเจ้าอาวาสผงกศีรษะรับ แต่ไม่ตอบคำถามของฉันตรงกันข้าม ท่านกลับเปรยขึ้นว่า “หากเยอรมันชนะสงคราม ฉันไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแก่พระศาสนา เวลานี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากำลังประชวรหนักอยู่ด้วย หากทรงเป็นอะไรไปในตอนนี้ การพระศาสนา เห็นทีจะมืดมน แต่ไหนแต่ไรมา เมื่อพระตีระฆังบอกเวลาสวดมนต์ทำวัดเช้าตอนตีสี่ พวกสุนัขมักพากัน เห่าหอนตามเสียงกลอง แต่ฉันเพิ่งสังเกตมาเมื่อไม่นานว่า เวลานี้พวกสุนัข ไม่ได้เห่าหอนกันเหมือนก่อน นี่จะเป็นลางบอกเหตุร้ายหรือดี ฉันไม่รู้ได้”
“นี่แสดงว่าจิตใจของท่านไม่สงบเลย กำลังคิดฟุ้งซ่าน และฉันเข้าใจว่าท่านต้องลืม เรื่องที่ฉันถามเมื่อครู่นี้หมดสิ้นแล้ว แต่แล้วท่านก็อยู่นิ่งสักครู่หนึ่งก่อนจะเอ่ยขึ้นทันใดว่า “เอาล่ะ กลับมาที่คำถามซึ่งเธอถามเมื่อครู่นี้ เพื่อนของเธอเขาต้องการรู้ว่า ฉันมีหลักอันใดเป็นเครื่องมือ ค้ำจุนในการประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือหาไม่ ฉันของตอบว่า “มี” ว่ากันตามจริงแล้วฉันถือ หลักสำคัญอยู่ 3 สูตร ฉันท่องขึ้นใจอยู่เสมอ โดยท่องเดินหน้าถอยหลังได้โดยตลอด ท่องอยู่เช่นนี้ วันแล้ววันเล่า ทั้งกลางวันกลางคืน และฉันพบว่าการทำเช่นนี้มีประโยชน์แก่ชีวิตฉันมาก”
“สูตรข้อแรก ฉันรู้ตำราไวยากรณ์มูลกัจจายน์เป็นอย่างดี ฉันท่องตำรานี้ทุกวัน เพื่อช่วยให้ความรู้ทางภาษามคธของฉันยังคงคล่องแคล่วอยู่เสมอ เดี๋ยวนี้ตำราเล่มนี้อาจจะเก่า ล้าสมัยแล้ว แต่ฉันก็อาศัยคัมภีร์นี้แหละเป็นแม่บทแห่งมคธภาษา เรียนด้วยการท่องจำ และเดี๋ยวนี้ฉันก็ยังจำมันได้ดีอยู่ ตำรานี้มีอานิสงส์กับฉันมากทีเดียว แม้ว่าพวกพระเปรียญรุ่นหลังจะ หันไปเรียนบาลีไวยากรณ์แผนใหม่ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงพระนิพนธ์ขึ้นแล้วก็ตาม แตพวกนี้ยังกลับมาปรึกษาฉันบ่อย ๆ ให้ช่วยแก้ปัญหา ทางไวยากรณ์ให้พวกเขา ในฐานะที่ฉัน แตกฉานตำราเก่าเป็นอย่างดีนี่เอง ฉันจึงสามารถให้คำตอบ ที่ถูกต้องแม่นยำแก่พระรุ่นใหม่ได้ หาไม่แล้ว พวกพระรุ่นหนุ่ม ๆ พวกนี้จะมีอคติต่อฉันด้วย ด้วยเจ้าใจว่าเจ้าคุณสมเด็จนี่แก่แล้ว ขี้หลงขี้ลืม เมื่อเกิดอคติเช่นนี้ ตัวพวกเขานั่นเองแหละ จะพากันเสื่อมถอยในวิชา เพราะเมื่อพระผู้น้อยคิดร้ายต่อบุคคลอื่น โดยเฉพาะต่อพระเถระผู้ใหญ่แล้วไซร้ ก็เท่ากับเขาได้ย่างก้าว สู่ทางแห่งหายนะ ซึ่งจะนำไปสู่นรกภูมิ ทางที่ถูกที่ควรพระต้องแผ่เมตตา กรุณาแก่สรรพสัตว์อยู่เสมอ ดังนั้นเพื่่อเกื้อกูลแก่ลูกวัด และเพื่อรักษาพื้นความรู้มคธภาษา ฉันจึงยึดสูตร นี้ไว้ในใจเสมอ”
“สูตรข้อสอง ฉันรู้หลักพระปาฏิโมกข์ทั้งหมดอย่างแม่นยำขึ้นใจ ดังนั้น ในวันอุโบสถเมื่อพระสวดพระวินัย ฉันจึงรู้เลยว่าพระรูปนั้นสวดผิดหรือไม่ การรู้บัญญัติข้อประพฤติ ปฏิบัติของพระภิกษุ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้อยู่ในหมู่สหธรรมิก เดิมฉันเป็นฆราวาส ยกฐานะ ตัวเองขึ้นมาเป็นสามเณร จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุครบองค์ ต่อมาก็เลื่อนสมณศักดิ์ จากเจ้าอาวาส ชั้นผู้น้อย จนถึงชั้นสมเด็จพระวันรัตในสังฆปริมณฑลนี้ ฉันเป็นรองก็แต่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าเท่านั้น ฉันไม่สามารถก้าวมาถึงขั้นนี้ได้เลย หากฉันไม่ปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ ของสงฆ์ถ้าฉันละเมิดศีล ข้อใหญ่แล้วไซร้ ฉันก็จะขาดจากความเป็นพระทันที แต่ถ้าฉันละเมิดศีลข้อเล็ก ๆ น้อย ๆ ฉันก็จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ด่างพร้อยอยู่ดี พระภิกษุจะต้องดำเนินชีวิต ที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากข้อติเตียนใด ๆ ทั้งสิ้น การสวดพระปาฏิโมกข์นี้ช่วยให้ฉันตรวจสอบตัวเอง ได้ตลอดเวลา หากฉันพบว่าฉันได้ล่วงสิกขาวินัย ข้อหนึ่งข้อใด ทั้งกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ฉันจะปลงอาบัตินั้นเสีย โดยประกาศอาบัติให้ทราบทั่วกันใน หมู่สงฆ์ ขอยกโทษเสียจากสงฆ์แล้ว ฉันก็จะกลับเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด และมีค่าควรอยู่ในหมู่ สหธรรมิกสืบไป”
“สูตรข้อสาม ฉันจะสวดมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นประจำทุกวัน อันนับเป็นหัวใจสำหรับ การเจริญสติ ซึ่งมีอานิสงส์แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ การสวดสติปัฏฐานสูตร อาจช่วยให้บุคคลละ ความยึดมั่นถือมั่นในโลก มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่ง และไม่หลงมัวเมาในสิ่งสมมติ สูตรนี้สามารถยัง บุคคลให้บรรลุพระสัทธรรม คือ มรรคผลนิพพานได้ในที่สุด”
“สูตรสามประการนี้แหละที่ฉันยึดถืออยู่ในใจ ฉันจะสวดท่องสูตรทั้งสามติดต่อกัน ไปเรื่องทีละสูตร โดยสวดเดินหน้าถอยหลังด้วย สวดอยู่เช่นนี้ ทั้งกลางวันกลางคืน ฉันมักสวด เวลาอยู่คนเดียว เมื่อมีใครเข้ามาพบฉัน อาจจะเป็นอาคันตุกะหรือสามเณร ที่ผลัดเวรกันขึ้นมา อ่านหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ให้ฉันฟัง ฉันก็จะหยุดสวดชั่วคราว เมื่อว่างจากคนแล้ว ฉันก็จะ กลับสวดต่อจากที่ฉันค้างไว้ ฉันปฏิบัติตามหลักนี้ ตั้งแต่สมัยเป็นพระนวกะ หลักนี้มีอานิสงส์ช่วยให้ฉันเกิด ความสบาย สงบและมีปิติสุข ภายในเพศบรรพชิตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้”
“เอาล่ะนี่ก็สมควรแก่เวลาแล้ว เธอจงกลับไปบอกหลักปฏิบัติสามสูตรในชีวิตฉัน แก่สหธรรมิกของเธอผู้นั้นเถิด”
พิมพ์ครั้งแรก Visakha Puja 1965. (2507)
พิมพ์ซ้ำใน. ส. ศิวรักษ์ .(2527). สยามยามวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง
การครองใจคน
ลูกรัก...
เจ้านายที่ใจดี มีความยุติธรรม เห็นอกเห็นใจและเป็นกันเองกับลูกน้อง ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือกดขี่เบียดเบียนลูกน้อง ลูกน้องย่อมจะประทับใจและให้ความเคารพยำเกรงทั้งต่อหน้าและลับหลังเมื่อลูกมีโอกาสได้เป็นเจ้านายหรือเป็นผู้บังคับบัญชาคนก็อย่าลืมความจริงข้อนี้ ถ้าอยากให้ลูกน้องรัก อยากให้เขารู้สึกประทับใจและจงรักภักดี มากกว่าทำในสิ่งที่จะทำให้เขากลัวแต่ไม่ยำเกรง ผู้ปกครองที่ใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ จะมีแต่คนกลัวแต่ไม่ประทับใจ และไม่เกิดความจงรักภักดี ส่วนผู้ที่ใช้พระคุณมากกว่าพระเดช คนเขาจะทั้งกลัวทั้งเกรง
ผู้ใหญ่ที่คิดครองใจคนโดยใช้อำนาจทางการบังคับบัญชาทำให้เขาเกรงกลัวนั้น นับว่าเข้าใจผิดโดยแท้อำนาจที่แท้จริงนั้นเกิดจากการสร้างความประทับใจเป็นสำคัญ ความประทับใจย่อมเกิดจากการให้จากความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นหลัก เช่น ให้เงินทองสิ่งของเครื่องใช้ ให้กำลังใจ ให้ความเป็นกันเอง ให้คำแนะนำที่ดี ให้คำปลอบใจ ให้อภัย ให้ความอบอุ่น รวมไปถึงให้เกียรติ ให้การยกย่องเชิดชูด้วย ถ้าต้องการจะครองใจคนตลอดไป ก็ต้องฝึกให้สิ่งเหล่านี้แก่เขาและให้บ่อยๆ การปกครองคนที่ดีก็คือปกครองใจคน และการปกครองใจคนที่ดีที่สุด คือ ปกครองให้เขาประทับใจ เมื่อเขาเกิดความประทับใจแล้ว ปัญหาในการปกครองก็แทบจะไม่มีเลยทีเดียว...
ที่มา: พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต), ๒๕๔๔, คำพ่อ คำแม่, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,หน้า ๕๑-๕๒
เจ้านายที่ใจดี มีความยุติธรรม เห็นอกเห็นใจและเป็นกันเองกับลูกน้อง ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือกดขี่เบียดเบียนลูกน้อง ลูกน้องย่อมจะประทับใจและให้ความเคารพยำเกรงทั้งต่อหน้าและลับหลังเมื่อลูกมีโอกาสได้เป็นเจ้านายหรือเป็นผู้บังคับบัญชาคนก็อย่าลืมความจริงข้อนี้ ถ้าอยากให้ลูกน้องรัก อยากให้เขารู้สึกประทับใจและจงรักภักดี มากกว่าทำในสิ่งที่จะทำให้เขากลัวแต่ไม่ยำเกรง ผู้ปกครองที่ใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ จะมีแต่คนกลัวแต่ไม่ประทับใจ และไม่เกิดความจงรักภักดี ส่วนผู้ที่ใช้พระคุณมากกว่าพระเดช คนเขาจะทั้งกลัวทั้งเกรง
ผู้ใหญ่ที่คิดครองใจคนโดยใช้อำนาจทางการบังคับบัญชาทำให้เขาเกรงกลัวนั้น นับว่าเข้าใจผิดโดยแท้อำนาจที่แท้จริงนั้นเกิดจากการสร้างความประทับใจเป็นสำคัญ ความประทับใจย่อมเกิดจากการให้จากความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นหลัก เช่น ให้เงินทองสิ่งของเครื่องใช้ ให้กำลังใจ ให้ความเป็นกันเอง ให้คำแนะนำที่ดี ให้คำปลอบใจ ให้อภัย ให้ความอบอุ่น รวมไปถึงให้เกียรติ ให้การยกย่องเชิดชูด้วย ถ้าต้องการจะครองใจคนตลอดไป ก็ต้องฝึกให้สิ่งเหล่านี้แก่เขาและให้บ่อยๆ การปกครองคนที่ดีก็คือปกครองใจคน และการปกครองใจคนที่ดีที่สุด คือ ปกครองให้เขาประทับใจ เมื่อเขาเกิดความประทับใจแล้ว ปัญหาในการปกครองก็แทบจะไม่มีเลยทีเดียว...
ที่มา: พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต), ๒๕๔๔, คำพ่อ คำแม่, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,หน้า ๕๑-๕๒
Subscribe to:
Posts (Atom)