Thursday, May 20, 2010

พระราชกฤษฎาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



พระราชกฤษฎาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์


นับตั้งแต่ผมได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยวิชาโหราศาสตร์ดวงดาวในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับเรื่อง “อิทธิพลของคราส” ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์ชาติไทยซึ่งได้แก่หนังสือพระราช พงศาวดาร และจดหมายเหตุโหรต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการค้นคว้า และได้พบข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสารเหล่านี้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ต่าง ๆ ซึ่ง เป็นสิ่งที่บอกเหตุทั้งร้ายและดีของบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น อาทิ การเกิดสุริยคราส หรือจันทรคราส พระอาทิตย์ทรงกลด แผ่นดินไหว เป็นต้น ในวันที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปราบดาภิเษก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตราธิราชไทย เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๑ ได้ปรากฏข้อความในจดหมายเหตุโหรระบุไว้ว่า

“........ณ วันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย เพลาโมงเศษ เสด็จออกขุนนาง ตรัสประภาษเนื้อความ ...

....... พระราชสุจริต ปรารภตั้งอุเบกขาพรหมวิหาร เพื่อจะทะนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา และ

พระอาณาประชาราษฎร นั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นเวลาช้านาน..........”

แต่เดิมนั้น ผมในฐานะที่เป็นวิศวกรผู้หนึ่งมิได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้มากนัก เนื่องจากมีความเชื่อว่า เป็นเหตุการณ์ประจวบเหมาะมากกว่า หรือผู้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ได้มีเจตนาเขียนเพิ่มเติมเหตุการณ์เรื่องราว ในยุคสมัยนั้น ให้ดูขลังเป็นการเสริมพระบารมี พระบรมเดชานุภาพให้แก่พระมหากษัตราธิราชพระองค์หนึ่งพระองค์ใดเป็นพิเศษก็ ได้ จนกระทั่งได้ประสบเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้มาหลายครั้ง จึงเกิดแนวความคิดที่จะประมวลเหตุการณ์สำคัญ ที่มีปรากฏการณ์ธรรมชาติเข้าเกี่ยวข้องต่าง ๆ มาวิเคราะห์โดยใช้หลักวิชาพุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และโหราศาสตร์ มาผสมผสานกัน ผมจึงขอนำบางเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบันมายกเป็นตัวอย่างเล่า สู่กันฟังดังนี้

๑. ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช และองค์พระบุพมหากษัตราธิราชเจ้า เนื่องในวโรกาสวันสถาปนากรุงเทพมหานครครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ พระอาทิตย์ได้ทรงกลดให้เห็นเป็นที่มหัศจรรย์

๒. ในวันที่เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารค โดยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ เมื่อเสด็จ ฯ ออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้เกิดพายุอย่างแรงมีฝนตกหนักเคลื่อนที่ตามหลังขบวนเสด็จ ฯ แล้วก็ซาเม็ดไป และเมื่อเสด็จ ฯ ขึ้นประทับเรือพระที่นั่ง ที่ฉนวนน้ำ ท่าวาสุกรี ได้เกิดพายุฝนตามไล่หลังขบวนเสด็จฯ มาอย่างกระชั้นชิด เมื่อขบวนเสด็จ ฯ ถึงวัดอรุณราชวราราม พายุกลับสงบ ฝนหยุดตกขาดเม็ดสนิท เหตุการณ์ลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อเสด็จ ฯ ไปประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ

๓. ในวันเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งถือได้ว่า เป็นกฎหมายที่สำคัญสูงสุดของประเทศแก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลา ๑๗.๓๒ น. ได้เกิดฟ้าผ่าอย่างรุนแรงทันที และต่อมาได้มีพายุฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง เกิดฝนตกหนักทั่วกรุงเทพมหานคร ในวันเดียวกันได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างแรงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่บริเวณตอนใต้ของหมู่เกาะในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น ถึง ๒ ครั้ง ปรากฏการณ์ครั้งนี้คล้ายคลึงกับวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรง ปราบดาภิเษก คือ มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นล่วงหน้า และมีเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในวันพระราชพิธีนั้น

การเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ได้เป็นที่ยอมรับกันมาแต่โบราณกาลว่า เป็นพระราช กฤษฎาภินิหารของพระมหากษัตราธิราชเจ้าในยุคสมัยนั้น

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มโครงการทดลองปฏิบัติการ ฝนเทียมซึ่งชาวไร่ชาวนาทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “โครงการฝนหลวง” พระองค์ท่านได้ทรงสนพระทัยศึกษาแผนที่อากาศซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพ ดินฟ้าอากาศได้แก่อุณหภูมิ ความชื้น ความกดของอากาศ ความเร็วและทิศทางของลม ในวันเวลาปัจจุบัน และที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างจริงจัง เพราะข้อมูลเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการ ปฏิบัติการฝนเทียม นับว่าเป็นโชคดีของผม ที่ในช่วงเวลานั้นผมได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณถวายงานในด้านการ ติดต่อสื่อสารส่วนพระองค์อยู่ ดังนั้นเมื่อได้ทรงกำหนดแผนปฏิบัติการฝนเทียมแต่ละครั้งแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานเกี่ยวกับการประสานงาน ถ่ายทอดแผนและคำสั่งปฏิบัติการ ซึ่งจะพระราชทานมาให้ผมตอนหลังเที่ยงคืนแล้วเป็นประจำทุกวัน เพื่อกระจายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยบินของกระทรวงเกษตร ฯ และสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาทั้งในส่วนกลาง และในท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการฝนเทียม กับมีหน้าที่กำกับการ ควบคุมดูแลการปฏิบัติการสื่อสารของหน่วยงานเหล่านี้ด้วย ผมจึงได้มีโอกาสมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเทคนิคการปฏิบัติการฝน เทียม และการศึกษาสภาพดินฟ้าอากาศจากแผนที่อากาศซึ่งได้ทรงพระกรุณาถ่ายทอดความรู้ ให้มากพอสมควร

ในโอกาสต่อมา ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการปฏิบัติการฝนเทียม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังคงทรงศึกษาเทคนิคการพยากรณ์อากาศต่อไป จนกระทั่งทรงมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์อากาศเป็นอย่างยิ่ง มิได้ด้อยกว่าผู้ชำนาญการในวิชาการแขนงนี้ทั้งภายใน และต่างประเทศ

บทเรียนที่ประเทศไทยได้รับจากกรณีวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกเมื่อวันที่ ๒๑ตุลาคม ๒๕๐๕ และจากพายุใต้ฝุ่น “เกย์” เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ นับว่าเป็นบทเรียนที่มีค่าสูงยิ่ง ซึ่งประเทศไทยต้องเซ่นสังเวยด้วยชีวิตมนุษย์ สัตว์ ทรัพย์สิน บ้านเรือน ไร่นา เป็นมูลค่ามหาศาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักถึงความทุกข์โศกสลดของพสกนิกร และทรงเมตตาสงสารผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ให้เป็นจำนวนมาก และไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้น อีก ดังนั้น จึงได้ทรงสละเวลา และความสุขส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง ศึกษาแผนที่อากาศประจำวันที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ทูลเกล้า ฯ ถวาย และข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศจากศูนย์ตรวจสอบพยากรณ์อากาศของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านเครือข่าย Internet เป็นประจำวัน เพื่อเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ หากได้ทรงพบว่า มีการก่อตัวของลมฟ้าอากาศในลักษณะร่องความกดอากาศต่ำ แล้วมีการเพิ่มกำลังแรงไปในลักษณะเป็นดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่นขึ้นในเส้นรุ้ง เส้นแวงที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย ทั้งยังมีทิศทางการเคลื่อนที่มุ่งหน้าเข้ามาหาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรง ติดตามเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของลมพายุนั้นอย่างเคร่งเครียดโดยใกล้ชิดอยู่ทุกระยะ และเมื่อได้ทรงพิจารณาเห็นแน่ชัดว่า มีแนวโน้มที่ลมพายุนั้น จะมีโอกาสสร้างภัยพิบัติให้แก่พสกนิกรในพื้นที่หนึ่งใดได้ พระองค์จะทรงมีพระราชกระแส แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เตรียมพร้อมที่จะ ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยทัน ท่วงที

เหตุการณ์ที่สำคัญ ยิ่ง ครั้งล่าสุดที่อาจจะไม่มีผู้ใดได้สังเกตจดจำ และสมควรอย่างยิ่งที่จะบันทึกไว ้เพื่อเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ ภัยพิบัติที่เกิดแก่หลายจังหวัดในภาคใต้ตอนบน อันเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” พัดผ่านเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ห่างจากแหลมญวนไม่มากนักโดยเริ่มก่อ ตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำมาเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ แล้ว ได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ต่อจากนั้นได้แปรสภาพเป็นพายุใต้ฝุ่นมีความเร็วสูงสุดรอบศูนย์กลาง ประมาณ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวน เข้าสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าเข้าสู่บางจังหวัดในภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ลักษณะการก่อตัว ความรุนแรง และ ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุใต้ฝุ่นนี้คล้ายกับพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งได้เคยก่อภัยพิบัติให้แก่จังหวัดเหล่านี้มาแล้วอย่างมหาศาล เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒

จึงเป็นการแน่นอน ที่สุด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะต้องทรงเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การก่อตัว การเปลี่ยนแปลงของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด แม้แต่ตัวผมเองซึ่งมีความรู้ความเข้าใจ และสนใจในเรื่องดินฟ้าอากาศมาตั้งแต่สมัยที่ได้เคยร่วมถวายงาน ในการปฏิบัติการฝนเทียมก็ได้เฝ้าติดตามอยู่อย่างใกล้ชิดเช่นกัน จากข้อมูลที่ผมได้รับจากศูนย์ตรวจสอบอุตุนิยมวิทยาของบางประเทศผ่านเครือ ข่าย Internet โดยเฉพาะศูนย์รวมข่าวอุตุนิยมวิทยา และสมุทรวิทยา กับศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อเตือนภัยจาก พายุใต้ฝุ่นของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาประจำภาคพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวมได้คำนวณและพยากรณ์ทิศทาง ความเร็วของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ไว้ล่วงหน้าว่า พายุจะมีความรุนแรงสามารถก่อความเสียหายให้แก่ จังหวัดต่างๆซึ่งอยู่ในเส้นทางผ่านไม่น้อยกว่าพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ค่อนข้างแน่นอนคำพยากรณ์ดังกล่าวได้ระบุว่า ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามเวลาท้องถิ่น ๑๙.๐๐ น. พายุนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด ๑๐.๘ องศาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐.๘ องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดที่จุดศูนย์กลางรุนแรงถึง ๗๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย เคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ ๑๑ นอต หรือ ๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และจะเคลื่อนที่ถึงฝั่งภายใน ๑ ชั่วโมงเศษเท่านั้น หากเป็นเช่นคำพยากรณ์ ทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรคงจะถูกกวาดล้างโดยพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” จนหมดสิ้น สิ่งบอกเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้สร้างความกังวลและ ความเคร่งเครียดพระทัยให้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง

แต่โดยที่มิได้คาด คิด อีกไม่กี่นาทีก่อนที่จะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง พายุนี้ได้กลับอ่อนกำลังลงโดยฉับพลันมาเป็นพายุโซนร้อนมีความเร็วสูงสุดที่ จุดศูนย์กลางเพียง ๕๐ นอต หรือ ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทั้งทิศทางการเคลื่อนที่กลับเบี่ยงเบนขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย และถึงฝั่งที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขีนธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เวลา ๐๒.๐๐ น.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพรจึงได้รับภัยพิบัติจากพายุนี้ไม่รุนแรงนัก ดูจะเป็นการผิดปกติอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุใต้ฝุ่นใน ลักษณะนี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพายุยังเคลื่อนที่อยู่เหนือพื้นน้ำทะเลหรือมหาสมุทร พายุนั้นจะเพิ่มความแรง ความเร็วที่จุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น และจะลดลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งแล้ว พายุโซนร้อน “ลินดา” นี้ก็เช่นกัน เมื่อเคลื่อนที่พ้นจากประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ก็ได้เพิ่มความรุนแรง มากยิ่งขึ้นตามลำดับแปรสภาพกลับไปเป็นพายุใต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน อีกครั้งหนึ่งในวันเวลาต่อมา

ผมมีความเชื่อและมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุ “ลินดา” ครั้งนี้เป็นปาฏิหาริย์ และจะเกิดขึ้นได้โดยอภินิหารของท่านผู้หนึ่งซึ่งได้บำเพ็ญบารมีมาอย่างสูง มีพลังอินทรีย์ทั้งห้าที่แรงยิ่งตามหลักของพระพุทธศาสนา ดังนั้น เมื่อได้นำเอาสิ่งมหัศจรรย์ที่ได้เกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมืองที่ผ่านมาประมวล ก็น่าจะได้ข้อยุติว่าเป็นพระราชกฤษฎาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เท่านั้นอย่างแน่นอน ที่แสดงให้เห็นในลักษณะเดียวกับของพระบุพมหากษัตราธิราชไทยพระองค์อื่นๆ โดยเฉพาะสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวสรุปไว้ในหนังสือ “กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้” ว่า

“.......ความปลอดภัยอันแท้จริงมามีเกิดขึ้นเพราะพระนเรศวรเป็นเจ้า พระองค์เดียว ผู้ทรงก่อให้เกิดความคิดใหม่ วิธีการใหม่ และความหวังใหม่ขึ้นในใจคนไทย ........ เพราะพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เห็นได้ชัดทั่วกันว่า พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนไทย มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วน พระองค์เองเลย แม้แต่น้อย .......... พระบรมราชกฤษฎาภินิหารของพระนเรศวรเป็นเจ้าจึงเป็นกฤษฎาภินิหารอันบดบังมิ ได้ ........”

ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่ง ทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราเหลือคณานับ ดังนั้นใน วโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านได้เวียนมาบรรจบครบ รอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการ สมควรอย่างยิ่งที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป

ที่มา: http://www.dharma-gateway.com/ubasok/special-02.htm

No comments: