Monday, May 31, 2010
ความริษยา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ความริษยา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
ผู้มีความริษยานั้น ทำอะไรรุนแรงได้ร้อยแปด แม้เป็นความไม่จริงก็พูดได้ ใส่ร้ายได้ มุ่งเพียงเพื่อความฉิบหายของผู้ถูกริษยาเท่านั้น
อำนาจ ความมุ่งร้ายต่อผู้ที่ถูกริษยารุนแรงนักหนา
คิดพูดทำอะไรได้ทุกอย่าง
มุ่งพียงเพื่อทำลายชื่อเสียงเกียรติยศของผู้ถูกริษยา
ผู้ถูกถือว่าเป็นศัตรูร้าย
น่าจะลืมสนิทถึงบาปกรรมที่ตนกำลังทำว่า
กำลังนำชีวิตไปนรกเพราะบาปกรรมนั้น
บาปกรรมที่เจ้าตัวผู้กระทำรู้ดีว่า เป็นบาปกรรมที่ตนทำขึ้นจริง ๆ ผู้ตกเป็นเหยื่อไม่มีส่วนทำชั่วดังถูกยกขึ้นอ้างถึงเลย
ควรสงสารบรรดาผู้ที่ไม่ได้มีความริษยาด้วยแม้แต่น้อยและก็มีจิตใจห่วงบ้าน เมืองมากเกินไป ไม่อยากให้คนเลวเชิดหน้าชูตาอยู่ในบ้านเมืองอย่างคนดี อย่างที่ทำให้ใคร ๆ หลงเข้าใจว่าเป็นคนดี
ผู้ห่วงบ้านห่วงเมือง ห่วงผู้คนในบ้านในเมืองไทยว่าจะมีคนชั่วอยู่ร่วมสังคมคนดี จึงตัดสินใจทำหน้าที่ช่วยสถาบัน ด้วยการคิดพูดเต็มความสามารถเพื่อให้ความไม่ดีของผู้นั้นปรากฏประจักษ์แก่คน ทั่วไป
โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ความจริง คือไม่ได้รู้ว่าผู้ตกเป็นเหยื่อความริษยานั้นตีหน้าหลอกหลวงว่า เป็นคนดีทั้งที่เป็นคนไม่ดีสารพัดจริงหรือไม่ หรือว่าเพียงถูกกล่าวหา
อย่างไรก็ตาม ความรักความห่วงใยสถาบันก็ทำให้ตัดสินใจให้ความปกป้องคุ้งครองเต็มที่ ประกาศให้รู้กันว่า คนไม่ดีกำลังเข้ามามีบทบาททำลายบ้านเมืองไทยที่รัก ให้ทำลายเขาเสียก่อน
แผนการทำลายเพื่อรักษาสถาบันที่รักของไทยจึงเริ่มกระทำกันอย่างจริงจัง กระเทือนไปทั่ว ผู้เป็นเหยื่อความริษยาที่ก็ยืนยันกับตัวเองและกับผู้ที่เชื่อในความดีของ ผู้ตกเป็นเหยื่อริษยาว่า คนเหล่านั้นกำลังทำบาปที่ร้ายแรงนักหนาจะพาความวุ่นวายเดือดร้อนรุนแรงมาสู่ ประเทศชาติ
การทำลายคนดีมีหรือจะไม่บาป
แม้จะรู้สึกว่าทำเพื่อชาติก็ตาม
แต่เมื่อผู้ต้องรับเคราะห์กรรมอย่างน่าเศร้าเสียใจที่สุดเป็นคนดี
การทำร้ายคนดีให้เดือดร้อนนักหนา
จะคิดอย่างไร จะอ้างอย่างไร
ก็ไม่พ้นต้องรับบาปอันเกิดแต่กรรมของตนแน่
เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเพียงไรเท่านั้น
ที่มา[url=http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13868]:
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment